วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

23-พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ



23-พระวักกลิเถระ
เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท
ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์
  • บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพ
    นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิว
    พรรณผ่องใส พระอิริยาบถก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ
    หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียนมาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์ ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเรา
    บวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้
    แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน
    ให้สมประสงค์
    เมื่อท่านบวชแล้วก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยายท่องบ่น
    ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้
    ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป
    พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง
    ชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยพระดำรัสว่า:-
    “ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”
    พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้
    มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-
    “ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”
  • ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
    ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่
    พระนครราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้
    พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย
    พระดำรัสว่า:-
    “อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”
    พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
    น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
    แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
    ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
    พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
    ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
    ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
    พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
    พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ
    เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
    ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา
84000.org...::

22-พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ




22-พระพากุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ

พระพากุละ เกิดในวรรณะแพศย์ ตระกูลคหบดี ในเมืองโกสัมพี ที่ได้ชื่อว่า “พากุละ”
เพราะชีวิตของท่านเจริญเติบโตในตระกูลเศรษฐี ๒ ตระกูล (พา = สอง, กุละ = ตระกูล) ประวัติ
ของท่านมีดังต่อไปนี้:-
  • คลอดจากท้องคนเข้าไปอยู่ในท้องปลา
    เมื่อท่านคลอดออกจากครรภ์ของมารดาได้ ๕ วัน บิดามารดา รวมทั้งวงศาคณาญาติได้
    จัดพิธีมงคลโกนผมไฟและตั้งชื่อให้ท่าน และมีความเชื่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษว่า ถ้านำเด็กที่
    เกิดใหม่ไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา แล้วจะทำให้เป็นคนไม่มีโรคเบียดเบียนและมีอายุยืนยาว พี่
    เลี้ยงนางนมทั้งหลายจึงได้นำท่านไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ซึ่งนับถือกันว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
    เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อนั้น
    ขณะที่พี่เลี้ยงกำลังอาบน้ำให้ท่านอยู่นั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งแหวกว่ายมาตามกระแสน้ำ
    เมื่อมันเห็นท่านแล้วคิดว่าเป็นก้อนเนื้อ จึงฮุบท่านไปเป็นอาหารแล้วกลืนลงท้อง อาจเป็นเพราะ
    ท่ามีบุญญานุภาพมาก แม้จะถูกอยู่ในท้องของปลาก็มิได้รับความทุกข์ร้อนแต่ประการใด เป็น
    เสมือนว่านอนอยู่ในสถานที่อันสุขสบาย ส่วนปลานั้นก็ไม่สามารถจะย่อยอาหารชิ้นนั้นได้ จึงมี
    อาการเร่าร้อนทุรนทุราย กระเสือกกระสนแหวกว่ายไปตามกระแสน้ำ จนถูกชาวประมงจับได้
    และขาดใจตายในเวลาต่อมา เนื่องจากเป็นปลาตัวใหญ่ ชาวประมงจึงพร้อมใจกันนำออกเร่ขาย
    เพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ชาวประมงเหล่านั้น ช่วยกันนำปลาออกเร่ขายทั้งในหมู่บ้านและในตลาด
    ก็ไม่มีใครสามารถจะจ่ายเงินเป็นค่าซื้อปลาได้
    ขณะนั้น ภริยาเศรษฐีในเมืองพาราณสีผ่านมาพบ จึงได้ซื้อปลานั้นไว้ด้วยหวังจะนำไป
    แจกจ่ายให้แก่บริวาร และเมื่อให้จัดการชำแหละท้องปลาแล้วสิ่งที่ปรากฏแก่สายตาของทุกคนก็
    คือ เด็กทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกคนเมื่อหายตกตะลึงแล้วก็อุ้มเด็กออกจากท้องปลา ชำระร่างกาย
    ให้สะอาดแล้ว เด็กทารกนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใสน่ารัก ภริยาเศรษฐีดีใจสุดประมาณ เพราะตน
    เองก็ยังไม่มีบุตร จึงพูดขึ้นด้วยเสียงอันดังในท่ามกลางฝูงชนว่า “เราได้บุตรแล้ว ๆ” และได้รับ
    เลี้ยงทารกนั้นเป็นอย่างดีประดุจบุตรแท้ ๆ ในอุทรของตนเอง
  • ลูกใครกันแน่
    ข่าวการที่เศรษฐีในเมืองพาราณสีได้เด็กจากท้องปลา แพร่สะพัดไปทั่วอย่างรวดเร็ว
    ฝ่ายมารดาบิดาที่แท้จริงของเด็กนั้นอยู่ที่เมืองโกสัมพี ได้ทราบข่าวนั้นแล้ว จึงรีบเดินทางมาพบ
    เศรษฐีเมืองพาราณสีทันที ได้สอบถามเรื่องราวโดยตลอดแล้ว จึงกล่าวว่า “นั่นคือบุตรของเรา”
    พร้อมกับชี้แจงแสดงหลักฐานเล่าเรื่องราวความเป็นมาโดยละเอียด แล้วเจรจาขอเด็กนั้นคืน ฝ่าย
    เศรษฐีเมืองพาราณสี แม้จะทราบความจริงนั้นแล้วก็ไม่ยอมให้คืน เพราะถือว่าตนก็ได้มาด้วย
    ความชอบธรรม อีกทั้งมีความรักความผูกพันในตัวเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกที่แท้จริงของตน ทั้ง
    สองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าพาราณสีเพื่อให้ทรงช่วยตัดสินคดี
    ความให้
    พระเจ้าพาราณสี ได้ทรงสอบสวนทวนความ ทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว ทรงพิจารณา
    วินิจฉัยให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ด้วยการตัดสินให้ทั้งสองตระกูลมีสิทธิ์ในตัวเด็กทารก
    นั้นเท่าเทียมกัน ให้ทั้งสองฝ่ายผลัดกันเลี้ยงดู สุดแต่จะตกลงกำหนดระยะเวลาตามความพอใจ
    ของทั้งสองฝ่าย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้นามว่า “พากุละ” แปลว่า คน ๒ ตระกูล เพราะท่าน
    เจริญเติบโตในตระกูลเศรษฐีทั้งสองตระกูลละครึ่งปี ท่านมีชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขตาม
    วิถีชีวิตฆราวาส ด้วยความอุปถัมภ์บำรุงของตระกูลทั้งสองนั้น จวบจนอายุถึง ๘๐ ปี
  • เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิ
    ญาณ เที่ยวประกาศหลักธรรมคำสั่งสอน ให้ประชาชนได้บรรลุมรรคผล ตามอำนาจวาสนา
    บารมีของตน ๆ เสด็จมาถึงยังเมือสาวัตถุ
    พากุละพร้อมด้วยบริวาร ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและรับฟังพระธรรมเทศนาเกิดศรัทธา
    เลื่อมใส ตั้งใจอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา จึงกราบทูลของบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์
    ประทานให้ตามประสงค์ และประทานพระโอวาทอันเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติวิปัสสนา
    กรรมฐาน จากนั้นท่านได้ปลีกตัวไปสู่สถานที่อันสงบสงัด เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ท่าน
    อุตสาห์ทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  • ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ไม่มีโรคาพาธ
    เมื่อท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้ช่วยแบ่งเบาภาระทางพระพุทธศาสนาใน
    การอบรมสั่งสอนพุทธบริษัท และท่านเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธุดงค์ ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ
    การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ในอิริยาบท ๓ คือ ยืน เดิน และนั่งเท่านั้น ไม่นอน และข้อ
    “อรัญญิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ป่าเป็นวัตร ดังจะเป็นได้ว่า ตั้งแต่ท่านบวช
    มานั้น ท่านไม่เคยจำพรรษาในบ้านเลย นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ไม่เคยให้
    หมอรักษาพยาบาล ไม่เคยฉันแม้แต่ผลสมออันเป็นยาสมุนไพรแม้แต่เพียงผลเดียว เพราะว่าท่าน
    ไม่มีโรคใด ๆ เลยนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะด้วยอานิสงส์แห่งการสร้างเว็จกุฎี (ส้วม) แลการถวาย
    ยาเป็นทานแก่พระสงฆ์ เหตุการณ์ที่แสดงว่าท่านเป็นผู้อายุยืนยาวนั้น ได้มีเรื่องกล่าวไว้ใน
    กุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรแห่งคัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า.....
    ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพากุลเถระ พักอาศัยยู่ที่เวฬุวันมหาวิหารเมืองราชคฤห์ ขณะนั้น มี
    อเจลกะท่านหนึ่ง ชื่อว่า กัสสปะ (อเจลกะ คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่ไม่สวมเสื้อผ้า ซึ่งเรียกว่า
    ชีเปลือย) ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของท่าน เมื่อสมัยที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาเยี่ยมเยือนและได้สนทนาไต่
    ถามพระเถระว่า
    “ท่านพากุละ ท่านบวชมาได้กี่ปีแล้ว”
    “กัสสปะ อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปีแล้ว”
    “ท่านพากุละ ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปี ที่ท่านบวชมานั้น ท่านมีความเกี่ยวข้องกับ
    โลกิยธรรมกี่ครั้ง”
    “ท่านกัสสปะ อันที่จริงท่านควรถามอาตมาว่า ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปีนั้น กามสัญญา
    คือ ความใฝ่ใจในทางกามารมณ์เกิดขึ้นแก่ท่านกี่หนแล้ว กัสสปะ ตั้งแต่อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปี
    แล้วนี้ อาตมามีความรู้สึกว่า กามสัญญาที่ว่านั้นไม่เกิดขึ้นแก่อาตมาเลย”
    อเจลกกัสสปะ ได้ฟังคำของพระเถระแล้วกล่าวว่า “เรื่องนี้ น่าอัศจรรย์ จริง ๆ” และได้
    สนทนาไต่ถามในข้อธรรมต่าง ๆ จากพระเถระ จนหมดสิ้นข้อสงสัยแล้ว ในที่สุดก็เกิดศรัทธา
    ขอบวชในพระพุทธศาสนา และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่ง
    ด้วยความที่ท่าน เป็นผู้ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนเป็นเหตุให้ท่านมีอายุยืนยาวดังกล่าวมานี้
    พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง
    ผู้ไม่มีโรคาพาธ
    ท่านพระพากุลเถคะ ดำรงอายุสังขารสมควรแก่กาลแล้ว ในวันที่ท่านจะนิพพานนั้น
    ท่านนั่งอยู่ในท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้อธิษฐานว่า “ขออย่าให้สรีระของข้าพเจ้าเป็นภาระแก่หมู่
    ภิกษุสงฆ์เลย” ดังนี้แล้วท่านก็เข้าเตโชกสิณ ปรินิพพานในท่ามกลางหมู่สงฆ์นั้น พลันเปลว
    เพลิงก็เกิดขึ้นเผาสรีระของท่านจนเหลือแต่อัฐิธาตุ ซึ่งมีสีและสัณฐานดังดอกมะลิตูม
84000.org...::

21-พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ



21-พระทัพพมัลลบุตรเถระ
เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ

พระทัพพมัลลบุตร เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ
มีพระนามเดิมว่า “ทัพพราชกุมาร” แต่เนื่องจากว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช จง
นิยมเรียกกันว่า “ทัพพมัลลบุตร”
  • ประสูติบนเชิงตะกอน
    เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า ทัพพะ ซึ่งแปลว่า ไม้ นั้นก็เพราะว่าในขณะที่พระมารดาของท่าน
    ตั้งครรภ์ใกล้จะประสูตร แต่ก็สวรรคตเสียก่อน บรรดาพระประยูรญาตจึงนำศพไปเผาบนเชิง
    ตะกอน เมื่อไฟกำลังเผาไหม้ร่างของพระนางอยู่นั้นท้องได้แตกออก ทารกในครรภ์ได้ลอยมาตก
    ลงบนกองไม้ใกล้ ๆ เชิงตะกอนนั้น และไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลย พวกเจ้าหน้าที่ได้อุ้มทารกนั้น
    มามอบให้พระอัยยิกา (ยาย) อาศัยเหตุการณ์นั้นจึงตั้งชื่อท่านว่า “ทัพพะ”
  • โกนผมเสร็จก็บรรลุอรหันต์
    ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคม แคว้นมัลละแห่งนั้นพร้อมด้วยภิกษุ
    พุทธสาวก ขณะนั้น ทัพพราชกุมาร มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษาพระอัยยิกาได้พาไปเฝ้า
    พระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลาย ทัพพราชกุมารได้ทอดพระเนตรเห็น
    พระผู้มีพระภาค เกิดศรัทธาเลื่อมใสน้อมพระทัยไปในการออกบวช ได้กราบทูลลาพระอัยยิกา
    เพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอัยยิกาก็อนุโมทนาและรีบพามาสู่สำนักพระบรมศาสดา
    ท่านได้ทราบถวายบังคมแล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงมอบให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็น
    พระอุปัชฌาย์บวชให้
พระภิกษุผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ ทัพพราชกุมารแล้ว ในขณะ
ที่กำลังทำการโกนผมอยู่นั้น ทัพพราชกุมาร ได้พิจารณากรรมฐานที่เรียนมา คือ ผม ขน เล็บ
ฟัน และหนัง โดยลำดับ เมื่อจรดมีดโกนครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๒
ได้บรรลุสกทาคามิผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล และเมื่อการโกนผมสิ้นสุดลง
ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมมภิทา ๔ และอภิญญา ๖
  • ขอรับภารกิจของสงฆ์
    ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๗ ขวบ ต่อมาท่านได้ตามเสด็จพระผู้มี
    พระภาคไปจำพรรษาที่กรุราชคฤห์ แควนมคธ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่เพียงตามลำพัง ความ
    คิดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ท่านว่า “เราอยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว สมควรที่จะช่วยรับภารกิจ
    ของสงฆ์ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมบ้าง” ดังนั้น เมื่อท่านมีโอกาสจึงเข้าเฝ้ากราบทูลความคิด
    ของตนแก่พระบรมศาสดาพระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่ท่านแล้วทรงประกาศให้สงฆ์
    สมมติให้ท่านรับหน้าที่เป็น ภัตตุทเทสก์ คือมีหน้าที่แจกจ่ายภัตรี จัดพระภิกษุไปฉันในที่มีผู้
    นิมนต์ไว้ และเป็น เสนาสนคาหาปกะ คือ มีหน้าที่จัดเสนาสนะแจกจ่ายแก่พระภิกษุผู้มาจากต่าง
    ถิ่น ให้ได้พักอาศัยตามความเหมาะสม ท่านได้ทำหน้าที่นั้น ๆ ด้วยดีเสมอมา
    ต่อมาพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าท่านมีอายุยังน้อยนัก แต่มารับภาระอันหนักซึ่ง
    ควรจะเป็นหน้าที่ของพระภิกษุมากกว่า ดังนั้น เพื่อให้ท่านปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสะดวก
    พระพุทธองค์จึงทรงบวชให้ด้วยการยกท่านจากการเป็นสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในวันนั้น ด้วย
    พระดำรัสว่า “อชฺชโต ปฏฺฐาย ภิกฺขุ โหหิ” ซึ่งแปลว่า เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป การบวช
    ด้วยวิธีนี้เรียกว่า “ทายัชชอุปสัมปทา” แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท ทั้งนี้เพราะ
    พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ท่านมีคุณสมบัติสมควรที่จะเป็นพระภิกษุเพราะเป็น
    พระอรหันต์ และปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าพระ (ในพระพุทธศาสนามีสามเณรที่ได้รับการบวชด้วย
    วิธีนี้ ๓ รูป คือ สารเณรสุมนะ, สามเณรโสปากะ และสามเณรทัพพะ)
พระทัพพมัลลบุตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระพุทธองค์ อย่าง
สมบูรณ์และเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ กล่าวคือ:-
ในด้านการจัดพระไปฉันในที่นิมนต์ (ภัตตุทเทสก์) ท่านจะคำนึงถึงวัยวุฒิและคุณวุฒิ
ของพระที่จะร่วมไปด้วยกัน ทั้งพิจารณาถึงความรู้จักคุ้นเคยกับทายก อีกทั้งให้พระหมุนเวียน
ผลัดเปลี่ยนกันไปตามวาระ และตามความเหมาะสมด้วย
ในด้านการจัดเสนะสนะ (เสนาสนคาหาปกะ) ท่านจัดให้พระภิกษุผู้มีอุปนิสัย
ความถนัด ความคิดเห็น และความรู้ที่คล้ายคลึงกันพักอยู่ด้วยกัน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ยังจัดเสนาสนะให้ตามความประสงค์ของ ผู้มาพัก เช่น ต้องการพักในถ้ำหรือในกุฎี
เป็นต้น ถ้าเป็นเวลาค่ำคืนท่านจะเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานให้ปลายนิ้วของท่าน เป็นดุจแท่งเทียน
ส่องสว่าง นำทางพระอาคันตุกะไปสู่ที่พัก พร้อมทั้งแนะนำสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ
กันพระอาคันตุกะควรทราบ
  • ถูกภิกษุณีกล่าวหาว่าข่มขืน
    สมัยหนึ่ง มีพระบวชใหม่สองรูป ชื่อ “พระเมตติยะ กับพระภุมมชกะ” เป็นผู้มีบุญ
    วาสนาน้อย เมื่อได้อาหารหรือเสนาสนะก็มักจะได้แต่ของชั้นเลวเสมอ วันหนึ่ง พระทัพพมัลล
    บุตร จัดให้ท่านไปฉันที่บ้านคหบดีผู้มีปกติถวายแต่ของชั้นดีแก่ภิกษุทั้งหลาย แต่วันนั้นคหบดี
    ทราบว่าท่านทั้งสองมา จึงสั่งให้สาวใช้จัดอาหารชั้นเลวถวายท่าน คือทำอาหารด้วยปลายข้าว
    และน้ำผักดอง เสานาสนะก็จัดให้นั่งที่ซุ้มประตู มิให้เข้ามาในบ้าน ทำให้ท่านทั้งสองขัดเคืองใจ
    แล้วคิดว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระทัพพมัลลบุตร กลั่นแกล้ง
    วันหนึ่งมีนางภิกษุณีชื่อเมตติยามาหาท่าน จึงเล่าเรื่องความทุกข์ให้ฟังแล้วขอร้องให้นาง
    กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ว่าข่มขืนนาง เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนำความกราบทูลพระ
    ผู้มีพระภาค ขอให้ลงโทษพระเถระด้วยการให้ลาสิกขาออกไป
    พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระเถระว่า
    “ดูก่อนทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมายังไม่รู้จักการเสพเมถุน แม้แต่ใน
    ความฝันเลย จึงไม่จำต้องกล่าวถึงตอนตื่นอยู่ พระเจ้าข้า”
    พระพุทธองค์สดับแล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสึกนางภิกษุณีเมตติยา นั้น แต่
    พระเมตติยะกับพระภุมมชกะกราบทูลและสารภาพว่าทั้งหมดเป็นแผนการของตนทั้ง ๒ รูป
    พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภเหตุนั้นจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า “ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น
    แล้วแกล้งโจทก์ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส”
  • ได้ยกย่องทางจัดเสนาสนะ
    ท่านปฏิบัติหน้าที่ของท่านด้วยความเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ เป็นที่พอใจและยอมรับ
    ของพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป แม้แต่ทายกทายิกา ก็ได้รับความพอใจโดยทั่วกัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้
    รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
    ผู้จัดเสนาสนะ
    ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระ นิพพานที่เมืองราชคฤห์ โดยก่อนที่จะนิพพาน ท่านได้
    แสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปในอากาศ ทำสมาธิเข้าสมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติก็นิพพาน เตโชธาตุก็
    พลันเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านจนไม่เหลือเศษแม้แต่เถ้าถ่าน ณ ท่ามกลางอากาศนั้น อันเป็นไป
    ตามความประสงค์ของท่าน
84000.org...::

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ปริวาส


18-28 พฤศจิกายน 2562
ปริวาสกรรม วิปัสสนากัมมัฏฐาน
 วัดดอนรังกัมมัฏฐาน (ปฏิปทาอริยะวงศ์)
ตำบล หนองกะท้าว
อำเภอ นครไทย
จังหวัพิษณุโลก
65120

ติดต่อ ประธานสงฆ์
พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก
0955696448

ทอดกฐิน ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๒


๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น.
ทอดกฐิน วัดดอนรังกัมมัฏฐาน (ปฏิปทาอริยะวงศ์)
ตำบล หนองกะท้าว
อำเภอ นครไทย
จังหวัพิษณุโลก
65120

ติดต่อ ประธานสงฆ์
พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก
0955696448


วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อานิสงส์สร้างธรรมาสน์

อานิสงส์สร้างธรรมาสน์

ในภาพอาจจะมี ผู้คนกำลังนั่ง
......ความว่าในสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาของเราเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร พรั่ง
พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย ในกาลครั้งนั้นยังมีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อเมณฑก ที่ได้ชื่อเช่นนั้น
เพราะเศรษฐีนั้นมีรูปแพะทองคำอันมีฤทธานุภาพมาก ภิกษุสงฆ์จึง
ได้โจทนากันอยู่ในคันธกุฏี
...... ในกาลครั้งนั้นสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลครั้งหนึ่ง ยังมีเมณฑกเศรษฐี แต่ในกาลครั้งก่อนนั้น ท่านได้เกิดมาในศาสนาของ
พระเจ้าวิปัสสีมีนามว่า อินทะเศรษฐีท่านมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ได้สละทรัพย์ และ
น้ำพักน้ำแรงออกก่อสร้างธรรมาสน์ถวายเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าวิปัสสี เพื่อนั่งแสดงพระธรรมเทศนา
และได้สร้างรูปแพะทองคำอีก ๕ ตัว รองเป็นบันไดขึ้นเพื่อเสด็จไปเทศน์ได้โดยสะดวก เมื่อเสร็จแล้ว
ท่านก็ได้ถวายแก่พระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมทั้งตั้งความปณิธานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จด้วยฤทธิ์แพะ
ทองคำนี้เถิด
...... กาลต่อมาครั้นสิ้นอายุขัย เศรษฐีนั้นได้ไปเกิดบนสวรรค์ มีวิมานทองสูงได้ ๑๐ โยชน์ มี
นางฟ้าเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร วิมานนั้นประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ อันรุ่งเรืองลือชาปรากฏใน
เทวโลกนั้น ชื่อว่าอินทกเทวบุตร ครั้นจุติจากชั้นดาวดึงส์ ก็ได้มาบังเกิดในเมืองพาราณสีได้เป็นมหา
เศรษฐีมีข้าวของเป็นอันมากหาที่จะนับจะประมาณมิได้ ครั้นสิ้นชีพอายุขัยก็ได้นำตนไปอุบัติในเทวโลก
อันเป็นเทวสถานอันอุดมโอฬารไพศาลของพวกเทพนิกรอีกครั้ง จนกระทั่งถึงศาสนาแห่งพระพุทธเจ้า
ของเรา จึงก็ได้จุติจากเทวโลกมาบังเกิดเป็นเมณฑกเศรษฐี ครั้นเมณฑกกุมารเจริญวัยขึ้นได้ ๑๖ ปีนั้น
แพะทองคำก็จึงทำฤทธิ์ให้เงินทองข้าวของในท้องแพะนั้นไหลออกมาเป็นอันมาก เมณฑกกุมารได้เสวย
ซึ่งสมบัติข้าวของเหล่านั้นจึงมีนามว่า เมณฑกเศรษฐี นี้ก็ด้วยผลที่ท่านมีใจเจตนาดี หรือหวังดีต่อพระ
ศาสนาต้องการสร้างถาวรวัตถุให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน จนตลอดมาถึงทุกวันนี้ก็ย่อมได้รับ
อานิสงส์ตามความปรารถนาของท่าน

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะพระวิปัสสนาจารย์ สถาบันวิปัสสนาธุระ

20พระลกุณฏกภัททิยะเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ



20พระลกุณฏกภัททิยะเถระ
เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ

พระลกุณฏกภัททิยะ เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มีชื่อเดิมว่า “ภัททิยะ”
เมื่อเจริญวัยอายุมากขึ้นแต่ร่างกายของท่านไม่เจริญเติบโตตามอายุยังคงมีร่างกายเล็กต่ำเตี้ย
เหมือนเด็กวัย ๑๐ ขวบ ชนทั่วไปเมื่อจะจึงเรียกชื่อท่านก็จะเพิ่มคำว่า “ลกุณฏกะ” ซึ่งหมายถึง
ต่ำเตี้ย ไว้ข้างหน้า ชื่อของท่านด้วย จึงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านภัททิยะเตี้ย หรือ ท่านภัททิยะ
แคระ
  • คนแคระก็บวชได้
    ในโอกาสที่พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร หมู่อุบาสก
    อุบาสิกา ชาวเมืองสาวัตถุ ทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ต่างก็ถือดอกไม้และของหอม
    เครื่องสักการะทั้งหลาย ไปเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ลกุณฏกภัททิยะ ก็ได้ติดตามไปร่วม
    ฟังธรรมด้วย เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ท่านก็เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า
    ปรารถนาที่จะบวชในพระพุทธศาสนา เมื่ออุบาสกอุบาสิกา พากันกลับเคหสถานของตน แล้วได้
    เข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานให้ตามความประสงค์
    พระลกุณฏกภัททิยะ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระกรรมฐานในสำนักของ
    พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลขอปลีกตัวออกไปจากหมู่คณะไปอยู่ในที่อันสงบสงัดปฏิบัติความ
    เพียร ไม่นานนักก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นคือพระโสดาบัน ซึ่งจะต้อง
    เพียรศึกษาปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรคผลชั้นสูงขึ้นอีก
    เพราะความที่ท่านมีรูปร่างเล็กและเตี้ย จึงเป็นที่ชวนหัวเราะแก่ผู้พบเห็น วันหนึ่ง หญิง
    แพศยานั่งรถมากับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง เพื่อไปเที่ยวชมมหรสพ นางผ่านมาเห็นพระเถระแล้ว
    คงจะเห็นว่าท่านตัวเล็ก ทั้ง ๆ ที่ดูลักษณะน่าจะมีอายุมาก นางจึงหัวเราะลั่นจนมองเห็นฟันใน
    ปาก
    พระเถระเห็นฟันของหญิงแพศยานั้นแล้ว ถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์พิจารณาว่าเห็นของ
    ปฏิกูล สกปรก น่าเกลียด จนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี และต่อมาท่านได้ฟังธรรมกถา อันเป็น
    โอวาทจากพระสารีบุตรเถระ จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  • ถูกล้อเลียนว่าเป็นสามเณร
    พระลกุณฏกภัททิยะ นั้น เพราะความท่านเป็นผู้มีรูปร่างเล็กและเตี้ยเหมือนสามเณร
    จึงเป็นเหตุให้พระหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ชอบล้อเลียนท่านด้วยความคึกคะนอง
    ชอบหยอกล้อท่านเล่นด้วยการจับศีรษะบ้าง ดึงหูบ้าง จับจมูกบ้าง แล้วพูดหยอกล้อท่านว่า:-
    “แนะสามเณรน้อย ไม่อยากสึกหรือ ยังชอบใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่อีกหรือ ?”
    และครั้งหนึ่งมีภิกษุประมาณ ๓๐ รูป มาจากถิ่นอื่น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้เดินสวน
    ทางกับ พระลกุณฏกภัททิยะ ซึ่งท่านเพิ่งมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วก็กลับไป พระพุทธองค์
    ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า:-
    “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งเดินสวนทางไปหรือไม่ ?”
    “ไม่เห็น พระเจ้าข้า”
    “พวกเธอเห็น มิใช่หรือ ?”
    “เห็นแต่สามเณรองค์เล็ก ๆ เดินสวนทางไป พระเจ้าข้า”
    “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละ คือพระเถระ”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปร่างของท่านเล็กเหลือเกิน พระเจ้าข้า”
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เรียกบุคคลว่า “เถระ” เพราะความเป็นคนแก่ มีผม
    บนศีรษะหงอก และเพียงสักแต่ว่านั่งบนอาสนะพระเถระเท่านั้นท่านเหล่านั้น ตถาคตเรียกว่า
    “พระแก่เปล่า” ส่วนท่านที่มีสัจจะ คือริยสัจ ๔ มีธรรมะ มีความสำรวม รู้จักข่มใจ ไม่เบียด
    เบียนผู้อื่น และมีปัญญา ท่านเหล่านี้ ตถาคตเรียกว่า “เถระ”
  • ได้รับยกย่องว่าพูดเสียงไพเราะ
    พระลกุณฏกภัททิยะ แม้จะมีร่างกายที่ไม่ปกติและไม่เหมือนกับภิกษุอื่น ๆ อันเป็นหตุ
    ให้ท่านถูกล้อเลียนด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ท่านก็ไม่เคยโกรธเคืองเลย เพราะท่านเป็นพระอรหันต์
    ขีณาสพ ไม่มีกิเลสาสวะ แล้ว นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถพิเศษ คือปกติท่านแสดงธรรม
    สั่งสอนพุทธศาสนิกชนและเจรจาประกอบด้วยถ้อยคำและน้ำเสียงอันไพเราะ เป็นที่เสนาะโสต
    แก่ผู้ฟังทั้งหลาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส
    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
    ทั้งหลายในทาง ผู้พูดเสียงไพเราะ
    ท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาอยู่พอสมควรแก่กาล
    เวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
84000.org...::

19-พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย



19-พระราธเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย

พระราธเถระ เป็นบุตรตระกูลพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ ฐานะเดิมของท่านนั้นจัดว่า
อยู่ในขั้นเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราถูกภรรยาและบุตรธิดาทอดทิ้ง
ต้องกลายเป็นคนยากจนอนาถา ที่พึ่งพาอาศัยต้องเลี้ยงชีพด้วยการอาศัยพระภิกษุอยู่ในวัด
พระเวฬุวันมหาวิหาร
ต่อมา ราธพราหมณ์ มีศรัทธาปรารถนาจะบวช แต่ไม่มีภิกษุรูปใดที่จะสงเคราะห์บวช
ให้ ทำให้เกิดความทุกข์ใจ ร่างกายซูบผอมหน้าตาผิวพรรณหม่นหมอง พระบรมศาสดาทอดพระ
เนตรเห็นราธพราหมณ์มีร่างกายผิดปกติอย่างนั้นแล้วจึงได้ตรัสถาม ทราบความโดยตลอดแล้วรับ
สั่งถามภิกษุผู้อยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหารว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณของราธพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง ?”
ขณะนั้น พระสารีบุตรเถระ ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ได้กราบทูลว่า:-
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ระลึกได้ พระเจ้าข้า คือ วันหนึ่งข้าพระองค์ได้เข้า
ไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้เคยถวายอาหารข้าวสุขแก่ข้าพระองค์ ทัพพีหนึ่ง
พระเจ้าข้า”
  • ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม
    พระบรมศาสดา ได้สดับแล้วตรัสยกย่องพระสารีบุตรเถระว่าเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที
    แล้วมอบราธพราหมณ์ให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ดำเนินการบวชให้ และทรงประกาศยกเลิกการ
    อุปสมบทด้วยวิธี ไตรสรณคมน์ ที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้แต่เดิมแล้ว ทรงอนุญาตการอุปสมบท
    ด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม อันเป็นวิธีอุปสมบท โดยมีสงฆ์เป็นใหญ่ พระสารีบุตรเถระ เป็นพระ
    อุปัชฌาย์รูปแรก และพระราธะเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็นรูปแรก การอุปสมบท
    ด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
    พระราธะ เมื่ออุปสมบทแล้ว วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอให้พระพุทธ
    องค์ตรัสสอนธรรมอันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า:-
    “ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอจงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย สิ่งที่เรียกว่ามาร คือ รูป
    เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นของมิใช่ตัวตน มีความ
    เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลง และสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนั้น เธอจงละความพอใจในสิ่งอัน
    เป็นมารเหล่านั้นเสีย”
    พระราธะ รับเอาพระโอวาทนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติแล้วได้ติดตามพระสารีบุตรเถระ
    พระอุปัชฌาย์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตผล
    พระพุทธองค์ตรัสถามว่า:-
    “ดูก่อนสารีบุตร พระราธะสัทธิวิหาริยศิษย์ของเธอเป็นอย่างไรบ้าง ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เธอเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย แนะนำสั่งสอนตักเตือนอย่างไร ก็
    ปฏิบัติตามแต่โดยดี ไม่เคยโกรธเคืองเลย พระเจ้าข้า”
  • ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
    พระบรมศาสดาทรงสดับแล้ว ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาพระราธะเป็นแบบอย่าง
    ในการเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และทรงยกย่องพระราธะในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง
    หลาย ในทางผู้ว่าง่าย และผู้มีปฏิภาณ คือ เป็นผู้มีความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา
    ท่านพระราธเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็
    ดับขันธปรินิพพาน
84000.org...::

18-พระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์



18-พระมหากัสสปเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์

พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ
แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า
“กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม
วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ
  • ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร
    เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย
    จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน
    พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ
    โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา
    ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว
    สารแก่กปิลพราหมณ์
    ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ
    แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า
    “ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง
    ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้
    สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี
    แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้
    คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก
    ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย
    ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง
    ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น

  • สภาพชีวิตการครองคู่
    ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ
    เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็
    ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ
    ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล
    เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ
    สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง
    ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน
    จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง
    จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้
    เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย
    เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็น
    หมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี
    ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง
    ก็มีความคิดตรงกันว่า
    “ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ
    กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ
    และบริวาร
    ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม
    แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง
    กันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย
    นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี
    พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้
    บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ
    วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

  • อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ
    ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร
    ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ
    มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ
    ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
    พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า
    “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ
    ๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่
    เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่
    ๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย
    ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
    ๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์
    โดยสม่ำเสมอ

  • ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์
    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท
    ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม
    สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน
    ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-
    ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก
    ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์
    นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-
    ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า
    สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:-
    “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า”
    “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ
    พระเจ้าข้า”
    ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน
    แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-
    ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง
    หลายควรถือเป็นแบบอย่าง
    ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน
    ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น
    ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็
    มีใจเป็นฉันนั้น”
    ๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
    ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ
    ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง
    พระเถระขับล่านางเทพธิดา
    ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป
    บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร
    พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว
    อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก
    ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ
    ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง
    ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ
    ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย
    นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะและ
    บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน
    พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง
    เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง
    สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?”
    “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”
    พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา
    กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ
    แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา
    เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้
    สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด”
    นางเทพธิด้านอ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย
    ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด
    พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป
    นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่
    ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้

  • พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย
    โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน
    กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก
    อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ
    รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ
    พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ
    พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ
    อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”
    พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์
    ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็
    คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”
    ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้
    ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้
    เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป
    สาระสำคัญของปฐมสังคายนา
    ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
    ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
    ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
    ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
    ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
    ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

  • ชีวิตในบั้นปลาย
    ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน
    การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
    ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน
    เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน
    ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท
    แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง
    ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต
    ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำ
    ปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น
    ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา
    พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ
    ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด
    ขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น
84000.org...::

แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล กราบนมัสการองค์ดาไลลามะ ทิเบต

๑๙ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตร ป.เอก  สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา รุ่นที่ ๗  คุณะมนุษยศาสตร มจร  พระนครศรีอยุธยา ศึกษาดูงาน ต่าง...