วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน้าปกสารนิพนธ์


โครงสร้างวิทยานิพนธ์
เรื่อง(๑๘.๕)
การศึกษาวิเคราะห์มรรควิธีแห่งโกอาน (ปริศนาธรรม)
ในพระพุทธศาสนานิกายเซน (หนา ๑๘.๕)
THE ANALYTICAL STUDY OF THE NOBLE METHOD OF
PRACTICING THE KOAN IN ZEN BUDDHISM (๑๓.๕)



โดย (หนา๑๘ฺ.๕)
พระคัมภีร์เทพ   ธมฺมิโก   (วรรธน์นศรี)

๑.พระมหาสุรชัย วราสโภ ,ดร.  ประธานกรรมการ
๒.รศ.เวทย์        บรรณกรกูล   กรรมการ



วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิปัสสนาภาวนา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๕๗






               ความหมายและความสำคัญของการทำสารนิพนธ์

            โดยทั่วไปการทำสารนิพนธ์ หมายถึง การเขียนสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อเสนอต่อผู้อื่นตามหน้าที่ หรือเพื่อเสนอต่อสาธารณชนตามแต่กรณี วัตถุประสงค์หลักของการเขียนสารนิพนธ์ คือ เพื่อแสดงว่าผู้เขียนซึ่งอยู่ในหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว  ได้ทำการศึกษาและประมวลสาระทาง "หลักวิชา" เกี่ยวกับความเป็นไปของเรื่องนั้น จนสำเร็จถึงระดับหนึ่ง และพร้อมจะนำหลักวิชาที่ประมวลได้นั้น เสนอต่อผู้ที่ต้องการจะทราบ อันจะก่อประโยชน์สืบไป

                คำว่า "สารนิพนธ์" มาจาก สาระ + นิพนธ์ ซึ่งแปลว่า สาระทางหลักวิชาและการเขียน การเสนอ  คำนี้ตรงกับภาษาอังกฤษ "Substantive  Report" โดยที่คำว่าสาระ หรือ Substance หมายถึง "หลักวิชาที่เป็นแก่นสาระมิใช่ประเด็นไร้สาระและมิใช่ประเด็นที่ผิดจากความเป็นจริง ดังนั้นผู้เขียนจะต้องเลือกเฟ้นประเด็นที่มีลักษณะเป็นสาระทางหลักวิชานำมาเขียนส่วนประเด็นอื่นๆ แม้จะได้พบได้เห็น หรือได้ทราบเรื่องดังกล่าว  เป็นประเด็นไร้สาระที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นจริง  ไม่ควรนำมาเขียนเป็นสาระ
                ประเด็นที่เป็นสาระทางหลักวิชาเกี่ยวกับแต่ละเรื่อง  ได้แก่  ประเด็นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
                1.  ข้อความรู้เชิงทฤษฏี หรือแนวคิดแต่ละข้อที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งน่าจะมีประโยชน์
                2.  ข้อมูลความจริงที่ได้จากการออกแบบ การสร้าง การทดสอบสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า สร้างขึ้นมา
                ความสำคัญของสารนิพนธ์ ก็คือ บรรดาข้อหลักวิชาทั้งหลายที่ผู้เขียนนำมาเสนอเหล่านี้  เป็นเครื่องแสดงว่า  ผู้เขียนคงมีคุณสมบัติด้านความรู้  ความสามารถถึงระดับหนึ่ง  จึงได้สามารถมองเห็นหลักวิชาที่ดี ๆ  ดังกล่าว  และสามารถนำมาเขียนเสนอได้  จึงเป็นเครื่องหมายว่าบุคคลนี้มีความสามารถถึงขั้นที่จะรับมอบหมายภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่บางอย่างได้เป็นลำดับต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล กราบนมัสการองค์ดาไลลามะ ทิเบต

๑๙ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตร ป.เอก  สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา รุ่นที่ ๗  คุณะมนุษยศาสตร มจร  พระนครศรีอยุธยา ศึกษาดูงาน ต่าง...