วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ

ประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ

http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html



ศ (ต่อ)

ศ (ต่อ)

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา

วิปัสสนาภาวนา

อ.อาณัตชัย เหลืองอมรชัย

 

ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา

มหาวิหาร กับ อภัยคีรีวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอ การตรวจสอบ พุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียสู่ลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดิน แดนต่างๆ รวม 9 สายด้วยกัน ใน 9 สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล ได้แก่ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน โดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาและเป็นพระสหายของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ทั้งสองพระองค์ยังไม่เคยพบกัน พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด เรียกว่า “ วัดมหาวิหาร ” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย การเดินทางไปสู่ลังกาของพระมหินทเถระในครั้งนั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวลังกา เพราะท่านมิเพียงแต่นำเอาพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ท่านยังได้นำเอาอารยะธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม เข้าไปด้วย ลำดับต่อมา พระนางอนุฬาเทวีมเหสีและสตรีบริวารจำนวนมาก ปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศก ทูลขอพระนางสังฆมิตตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ด้านทักษิณมาสู่ลังกาทวีป และพระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นอุปัชญาย์บรรพชาอุสมบทแก่สตรีชาวลังกาได้ตั้งคณะ ภิกษุณีขึ้นในลังกา
สงครามกับชาวทมิฬ และความเสื่อมของพุทธศาสนา
เมื่อ พ.ศ. 400 เศษ รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามนีอภัย ได้มีพวกทมิฬเข้ามาตีและเข้าครองอนุราธปุระเป็นเวลา 14 ปี จนพระองค์ต้องเสียราชบัลลังก์ เสด็จลี้ภัยไปซ่องสุมกำลัง ระหว่างนั้นทรงได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติสสะ ต่อมากลับมาครองราชย์อีกครั้ง ได้ทรงให้ทำการสังคายนา และได้ทำการจารึกพระพุทธพจน์ลงในใบลานเป็นครั้งแรก ได้อุปถัมภ์พระมหาติสสะ พร้อมได้สร้างวัดถวาย คือวัด อภัยคีรีวิหาร จนทำให้พระภิกษุชาวมหาวิหารไม่พอใจ จนเป็นเหตุให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมหาวิหาร กับคณะอภัยคีรีวิหาร ตั้งแต่นั้นมาคณะสงฆ์ลังกาได้แตกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แต่ยังเป็นนิกายเถรวาท มีลักษณะต่างกันคือ คณะมหาวิหาร ฝ่ายอนุรักษนิยม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระธรรมวินัยใด ๆ และยังตำหนิรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็นอลัชชี คณะอภัยคีรีวิหาร เป็นคณะที่เปิดกว้าง ยอมรับเอาความคิดเห็นต่างนิกาย ไม่รังเกียจภิกษุต่างนิกาย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง พุทธศตวรรษที่ 1717 เป็นยุคที่ลังกาเดือดร้อนวุ่นวายเพราะการรุกรานจากอินเดียบ้าง ความไม่สงบภายในบ้าง ในระหว่างยุคนี้เองที่ภิกษุณีสงฆ์สูญสิ้น และพระภิกษุสงฆ์เสื่อม จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 มีพระราชประสงค์จะฟื้นฟูศาสนาในปี พ.ศ. 1609 ทรงหาพระภิกษุที่อุปสมบทถูกต้องแทบไม่ครบ 5 รูป และต้องทรงอาราธนาพระสงฆ์จากพม่าตอนใต้มากระทำอุปสมบทกรรมในลังกา
ชำระพระศาสนา
เมื่อ พ.ศ. 1697 - พ.ศ. 1730 พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 (เป็นพระโอรสของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1) ทรงเป็นมหาราชที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของลังกา ทรงปกครองบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อย ในด้านการพระศาสนาทรงชำระการพระศาสนาให้บริสุทธิ์ ยังคณะสงฆ์ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก ทรงสร้างวัดวาอาราม เป็นยุคที่มีศิลปกรรมงดงาม และลังการได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ปรากฏเกียรติคุณแพร่ไปทั่ว มีพระสงฆ์และนักปราชญ์เดินทางจากประเทศใกล้เคียง เพื่อมาศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วนำไปเผยแพร่ในประเทศของตนเป็นอันมาก พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังรัชกาลนี้แล้วพวกทมิฬจากอินเดียก็มารุกรานอีกและได้เข้าตั้งถิ่น ฐานมั่นคงขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ อาณาจักรสิงหลต้องถอยร่นทางใต้ ต้องย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อย ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ยาก นอกจากจะเพียงธำรงรักษาความมั่นคงเข้มแข็งไว้เท่านั้นเหตุการณ์สำคัญครั้ง หนึ่ง คือ ใน พ.ศ. 2019 พระภิกษุคณะหนึ่งจากพม่า ได้มารับการอุปสมบทกรรมที่ลังกาและนำคัมภีร์ภาษาบาลีเท่าที่มีอยู่ไปยังพม่า โดยครบถ้วนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2050
ยุคโปรตุเกส และฮอลันดา
ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขาย และถือโอกาสรุกรานชาวสิงหลขณะที่กำลังอยู่ในความวุ่นวาย พวกโปรตุเกสก็ได้ดินแดนบางส่วนไว้ครอบครอง และพยายามบีบบังคับประชาชนที่อยู่ใต้ปกครองให้นับถือศาสนาคริสต์นิกาย คาทอลิก คราวหนึ่งถึงกับยึดอำนาจกษัตริย์ได้ ทำให้พุทธศาสนากลับเสื่อมถอยลง จนถึงกับนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศพม่ามาให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกา ต่อมาชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายในลังกาและได้ช่วยชาวลังกาขับไล่พวกโปรตุเกส ได้ในปี พ.ศ. 2200 แล้วฮอลันดาก็เข้ายึดครองพื้นที่ที่ยึดได้ และนำเอาคริสต์ศาสนามาเผยแพร่ พยายามกีดกันพระพุทธศาสนา แต่ไม่สำเร็จ สถานการณ์พุทธศาสนาในขณะนั้นย่ำแย่ลงมาก เนื่องจากเกิดการแก่งแย่งกันแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกสและฮอลันดา ประชาชนไม่น้อยก็ไปเข้ารีตกับศาสนาคริสต์ พวกชาวพุทธในใจกลางเกาะมัวแต่รบราฆ่าฟันกัน พุทธศาสนาก็ขาดผู้อุปถัมภ์และยังเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง จนพระภิกษุสงฆ์ต้องทิ้งวัดวาอาราม จนไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่เลย คงมีสามเณรเหลืออยู่บ้าง โดยมีสามเณรสรณังกรเป็นหัวหน้า ไป
นิมนต์พระสงฆ์จากสยาม
เมื่อ พ.ศ. 2294 (พ.ศ. 2293 ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อสามเณรสรณังกรได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป มีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า เดินทางมาประเทศลังกา มาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี้ สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ หรือนิกายสยามวงศ์/อุบาลีวงศ์ขึ้นในลังกา ต่อมาพระอุบาลีเถระเกิดอาพาธและได้มรณภาพในลังกาในเวลาต่อมา ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศ พม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้น อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น ในสมัยนี้ได้มีนิกายเกิดขึ้นในลังกา 3 นิกาย คือ 1.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ 2.นิกายอมรปุรนิกาย 3.นิกายรามัญ นิกายทั้ง 3 นี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคอังกฤษปกครอง และปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2340 และอีก 19 ปีต่อมา อังกฤษได้ครองอำนาจแทนฮอลันดา ขยายอำนาจไปทั่วประเทศลังกา โดยรบชนะกษัตริย์แคนดี ได้ตกลงทำสนธิสัญญารับประกันสิทธิของฝ่ายลังกาและการคุ้มครองพระศาสนา ครั้นต่อมาได้เกิดกบฏขึ้น เมื่อปราบกบฏได้สำเร็จ อังกฤษได้ดัดแปลงสนธิสัญญาเสียใหม่ ระบบกษัตริย์ลังกาจึงได้สูญสิ้นตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาปกครองลังกาตอนต้น พระพุทธศาสนาได้รับความเป็นอิสระมากขึ้น ด้วยสนธิสัญญาดังกล่าว ครั้นต่อมาภายหลังจากการปกครองของอังกฤษประมาณ 50 ปี พระพุทธศาสนาก็ถูกกีดกันและต่อต้านจากศาสนาคริสต์ รัฐถูกบีบจากศาสนาคริสต์ให้ยกเลิกสัญญาที่คุ้มครองพุทธศาสนา บาทหลวงของคริสต์ได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาของตน และโจมตีพุทธศาสนาอย่างรุนแรง โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ นับตั้งแต่อังกฤษเข้าปกครองลังกามาเป็นเวลากว่า 300 ปี จนได้รับอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2491 จากการที่พุทธศาสนาถูกรุกรานเป็นเวลาช้านานจากศาสนาคริสต์ ทำให้ชาวลังกามีความมุ่งมานะที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาอย่างจริงจัง จนปัจจุบันประเทศศรีลังกา ได้เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
อ้างอิง
  • ปิยนารถ(นิโครธา) บุนนาค. ประวัติศาสตร์และอารยธรรมของศรีลังกาสมัยโบราณถึงก่อนสมัยอาณานิคม และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่าง ศรีลังกากับไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๓๔.
  • พนิดา อังจันทร์เพ็ญ. มนต์ขลังลังกา. กรุงเทพน : โอ เอส พรินติ้งเฮาส์. มปป. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ ธรรมสภา, ๒๕๔๐. 3.พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
  • สมเสียม แสนขัติ, พระมหา. สยามวงศ์ในลังกา. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • พระสุพรหมยานเถระ ( ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) มปส. ๒๕๓๑.
  • เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๒ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น

รายการเลือกป้ายบอกทาง

สมถะ


สมถะ 
เป็นภาษา บาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :
  1. จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต ดู : สมถกรรมฐาน.
  2. อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ.
  3. สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน[1]

อ้างอิง

วิปัสสนากัมมัฏฐาน


วิปัสสนา 
กรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีร์ทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญา[ต้องการอ้างอิง] ได้อีกด้วย เพราะในฎีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.
รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก
ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้

อารมณ์ของวิปัสสนา

ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฎเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.
วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมะ 201 เป็นต้น เช่น
วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉะนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฎีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.

การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ
  1. ช่วงปริยัตติ
    1. อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะ คิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.
    2. ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.
    3. สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.
    4. ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.
  2. ช่วงปฏิบัติ
    1. สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.
    2. สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.
    3. สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วย การคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจ จัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.
สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.

ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ
  1. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
  2. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  3. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
  4. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
  5. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
  6. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
  7. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
  8. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
  9. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
    1. เพื่อละนิวรณ์ 5
    2. เพื่อละกามคุณ 5
    3. เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
    4. เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
    5. เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
    6. เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ (พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก) ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้ อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
    7. เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
    8. เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    9. เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
    10. เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
    11. เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    12. อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
    13. ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    14. ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    15. ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    16. ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่อย่างมีสตินั่นเอง
    17. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    18. ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    19. ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    20. ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม".
  • พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.9) "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค 1 เล่ม 1. (รวบรวมจากบรรยายถาม-ตอบทางวิทยุกระจายเสียง ในปีพ.ศ. 2503-2507)

แหล่งข้อมูลอื่น

สติปัฏฐาน ๔


พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมจารย์ 

สติปัฏฐาน 4
         เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
  4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

มติอาจารย์บางพวก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณารูปขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุภวิปลาส (สำคัญความไม่งามว่างาม) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
คำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร. จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ท่านกล่าวสมถะยานิกไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในฐานะที่เหมาะกับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ. แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับสติปัฏฐานสูตร

นอกจากนี้ อาจารย์เหล่านั้นยังกล่าวว่า .-
"โดยที่อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริตทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสมถะยานิก และวิปัสสนายานิก" ดังนี้
ข้อนั้นไม่สมกับพระไตรปิฎก เพราะท่านกล่าวไว้ว่า อานาปานสติเป็นกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ในอรรถกถากล่าวว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน เหมาะกับ ตัณหาจริต สมถยานิก, และในวิสุทธิมรรค ท่านก็กล่าวความที่อานาปานสติเหมาะแก่โมหจริตไว้ในสมาธินิทเทส ซึ่งหนังสือพุทธธรรมก็ได้อ้างถึงไว้ด้วย
อนึ่ง ความหมายนี้ในพระไตรปิฎกใช้เพียงคำว่า สติปัฏฐาน เท่านั้น ส่วนคำว่า มหาสติปัฏฐาน นั้นมีใช้เป็นชื่อพระสูตรเท่านั้น ไม่มีใช้ในความหมายนี้โดยตรง

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52

ดูเพิ่ม

แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล กราบนมัสการองค์ดาไลลามะ ทิเบต

๑๙ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตร ป.เอก  สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา รุ่นที่ ๗  คุณะมนุษยศาสตร มจร  พระนครศรีอยุธยา ศึกษาดูงาน ต่าง...