วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทความ จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ ป.เอก


จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ
พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก

บทคัดย่อ (Abstract)
การแนะแนว ที่ช่วยให้บุคคลรู้จักและเข้าใจและสิ่งแวดล้อม สามารถนำ แก้ปัญหาได้ด้วยและพัฒนาได้ตามศักยภาพ ของสังคม การแนะแนวมิใช่การแนะนำ แต่ บทความนี้  ผู้เขียนมุ่งที่จะอธิบายแนวคิด  หลักการและแนวปฏิบัติ  หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพุทธศาสนากับการแนะแนว  ซึ่งจากการบรรยายของ  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการแนะแนว เชื่อมั่นในศักยภาพการพัฒนาของมนุษย์ เชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์ตรัสรู้เป็นพุทธะซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง       การแนะแนวเป็นหน้าที่ของปัจจัยภายนอก จะส่งเข้าถึงปัจจัยภายในคือ จูงใจให้ปฏิบัติธรรม จิตสำนึกในการพัฒนาตน มั่นใจในการพัฒนาตน ในความหมายทางพระพุทธศาสนาก็คือ “กัลยาณมิตร” ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดี เรื่องลึกซึ่งได้และไม่ชักจูงไปในทางที่ผิด เรียกว่า “สัปปุริสธรรม” เป็นผู้มีปัญญาเหนืออารมณ์

คำสำคัญ (Keyword) การแนะแนวเชิงพุทธ การปฏิบัติธรรม การฟังธรรม
Abstract
Guidance Help people recognize and understand. And the environment. Can apply problem solving. And development as potential. Of society. Guidance is not recommended But this article. The authors aim to explain the concept. Principles and Practices About Buddhism With Guidance The lecture Buddhism is a religion of guidance Believe in the potential of human development. Believe in intelligence The human enlightenment enlightened The Buddha is exemplary Guidance is a function of external factors. Access to internal factors The incentive to practice Consciousness in their development. Confident in their development. In the meaning of Buddhism. is a "true friend" This will serve as a good friend as well. The deep and does not induce the wrong way. A wise man over emotion.
Keyword  Guidance Buddhist, Dharma practice., A fair hearing


บทนำ (Introduction)
พระพุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมกับความทุกข์ เพราะการเกิดแล้วต้องตายเกิดอีกเป็นทุกข์ร่ำไป แต่สำหรับผู้ที่เกิดมาแล้วพัฒนาจนถึงขั้นสูงสุด ถึงความเป็นอริยะ คือไม่ต้องเกิดอีกต่อไป คือพระอรหันต์ สามารถพ้นจากความทุกข์ได้ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เมื่อมนุษย์เกิดปัญหาอุปสรรค์ในการใช้ชีวิต ผู้ที่มีปัญญา ก็จะแสวงหาแนวทางในการแก้ไขหรือลดปัญหาให้น้อยลง ในขณะที่มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต  บ้างคนก็เลือกใช้ในการแก้ปัญหาในทางที่ผิด  ก็จะเกิดกลุ่มคนที่มีปัญญาสามารถเข้าใจและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิตด้ายวิธีการ โดยเฉพาะการใช้หลักการทางศาสนามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาหรือลดปัญหาดังกล่าว เพื่อทำบทบาทหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาและการแก้ปัญหาชีวิต รวมถึงการให้แนวทาง  ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชน การแนะแนวมีการสะสมองค์ความรู้และนำมาใช้ในระบบการศึกษาสมัยใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยที่เป็นระบบ การแสวงหาความรู้ที่มีระบบ ระเบียบ ทำให้การแนะแนวมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง“พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีความเกี่ยวข้องกับการแนะแนว มุ่งช่วยเหลือให้บุคคลพ้นจากความทุกข์  ที่แท้จริง ผ่านกระบวนการพัฒนาจิตใจที่มีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำและแนะแนวให้ผู้ที่มีความทุกข์  ในการกำหนดมีแนวทางในการจัดการความทุกข์
หลักพื้นฐานของการแนะแนวตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา คือ มุ่งช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาตนได้อย่างสมบูรณ์ วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ  การแนะแนวเชิงพุทธเป็นลำดับต่อไป
๑. แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวเชิงพุทธ 
พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำแห่งการแนะแนวของโลก โดยใช้หลักธรรมที่ทรงค้นพบเป็นเครื่องมือการพัฒนาในการพัฒนาบุคคลให้สามารถพึ่งพาตน มนุษย์ต้องพึ่ง หากพึ่งไม่ได้ ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ โดยสงบสุข พระพุทธศาสนาจึงมุ่งให้มนุษย์พัฒนาตนเป็นหลัก  การที่เข้าถึงพระรัตนตรัย เป็นการเข้าถึงปัญญา  ในฐานะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาช่วยแนะแนวในการใช้ชีวิต หรือผู้ทำการแนะแนว ผู้ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการแนะแนวเชิงพุทธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบแนวทางในการดับทุกข์ ในอริยสัจจะ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พอรู้แล้วก็นำสิ่งที่ค้นพบมาบอกบุคคลอื่นต่อ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก คือ ชี้แนวทางให้ ส่วนตัวการกระทำนั้น เป็นเรื่องที่ท่านต้องทำ ต้องเพียรพยายาม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบธรรมะแล้วนำมาเปิดเผยให้เราได้รู้จักและปฏิบัติตาม เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔[1] กาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  สิ่งสำคัญก็คือการน้อมนำมาปฏิบัติ พิจารณาด้วยปัญญา  เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว  ก็มีพระธรรมพระวินัยแทนของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ต้องทำหน้าที่ต่อไป ดั่งคำกล่าวที่ว่า “มีแผนที่อยู่แล้ว พระพุทธเป็นผู้นำ มีพระธรรมเป็นแผนที่ และมีพระสงฆ์แนะนำให้รู้จักและ ตามความเป็นจริงแล้ว คนทั่วไปไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในทุกเรื่อง จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ช่วยให้สามารถพึ่งโดยได้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมต่างๆ  การใช้กิจกรรมหรือกระบวนการใน  การช่วยเหลือบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นหน้าที่ของการแนะแนว ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ได้จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์และศิลปะของการแนะแนวด้วย ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนายความสะดวกที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสามารถในการพึ่งได้ของมนุษย์ รวมถึงความคิดกับการพึ่งตน นอกจากบุคคลจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับตนตามความเป็นจริงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ การรู้คิด ถ้าคิดเองเป็นก็สามารถตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือละเว้นการกระทำสิ่งที่เป็นคุณหรือเป็นโทษต่อตนและคนอื่นได้ ความคิดเป็น คิดถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ[2] จำเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของบุคคลที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับการพัฒนา ต้องเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และกระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์  สิ่งสำคัญของการแนะแนวเชิงพุทธนั้นจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์ตามธรรมชาติของมนุษย์ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามุ่งส่งเสริมให้บุคคลได้เข้าใจถึงความเป็นจริง ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง จะทำให้มนุษย์มองตามธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงของโลกและชีวิตเป็นขั้นต้น คือความจริงเกี่ยวกับชีวิตความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาศัยเหตุปัจจัยและกฎเกณฑ์การเกิดขึ้น
กฎธรรมชาติตามหลักปฏิจสมุปบาท เป็นองค์ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเกี่ยวกับธรรมชาติการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ เช่น เพราะอวิชชา  จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร เพราะสังขารจึงเกิดวิญญาณ เป็นต้น นี้เรียนว่า “การเห็นตามความจริง” การที่จะมองสัจจะธรรมในสิ่งที่เกิดขึ้น ตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามหลักความเป็นจริง ด้วยการใช้ปัญญาญาณ พิจารณาไตร่ตรอง (รู้และเข้าใจได้ โดยการทำเองเห็นเองจึงจะเข้าใจ ปัจจตังเวธิตัปโพ วิญญูหิติ) เมื่อเข้าใจเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญญาที่แท้จริงได้ก็จะสามารถหาแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นที่ถูกวิธี และเป็นการแก้ไขปัญหา ความไม่เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่รู้จักโลกที่เกิดมา ไม่รู้จักการดำรงชีพ ความไม่รู้แบบนี้  เราเรียกว่า อวิชชา ถ้าเรียกตาม หลวงพ่อพระพุทธทาส อวิชา คือ ความโง่ คือ ความไม่รู้ เมื่ออยู่ด้วยความไม่รู้ มีอวิชชาก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ที่เราเรียกว่า ความทุกข์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิตอย่างมากมายก็ตาม มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น อย่างถูกต้องด้วยการอาศัยระบบการศึกษา พัฒนาจนเกิดปัญญาสามารถพึงได้ความต้องการของมนุษย์
๒. หลักการของการแนะแนวเชิงพุทธ
มนุษย์ในการพัฒนาตนได้ หากสามารถเข้าถึ งความเป็นจริง เข้าใจถึงความเป็นจริงของชีวิตของความเป็นมนุษย์ สามารถรู้จักการแก้ปัญหาง เข้าใจขอบเขตของธรรมชาติ ด้วยการฝึกฝนพัฒนาปัญญา การพํฒนาปัญญา มีทั้งหมด ๓ ขั้น
สุตตมยปัญญา จิตตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ต้องปรับปรุง ให้มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ในการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องพัฒนาทั้ง ๓ ด้าน มีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกตนดีแล้ว พระพุทธเจ้า เรียกว่า ยังเป็นคน ยังไม่ได้เป็นมนุษย์เพราะเมื่อมนุษย์สามารถพัฒนาได้  เทวดา พระพรหมก็ยังต้องให้ความเคารพ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ 
๑. จินตมยปัญญา หรือเรามักจะเรียกกันยาวๆ ว่า จินตามยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการคิด
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง หรือการสดับเล่าเรียน
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ หรือลงมือทำ[3]
เป้าหมายและวิธีการที่ถูกต้อง ตามหลักพระพุทธศาสนา  มนุษย์ก็จะเปลี่ยนแนวคิด   การพึ่งได้ก็แสดงว่ามนุษย์มีการศึกษา แต่ต้องปฏิบัติตามด้วย จึงจะเห็นผลจริงตามความเป็นจริง     ซึ่งจะเป็นได้นั้นก็ด้วยการบำเพ็ญบารมี พัฒนาจนถึงขั้นมีคุณสมบัติจนเกิดปัญญาตรัสรู้ซึ่งพระพุทธศาสนาในปัญญา วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแนะแนวเชิงพุทธ  จุดเริ่มต้นของการแนะแนวเกิดจากความต้องการของมนุษย์ เพราะมนุษย์ยังไม่สามารถช่วยเหลือได้ ในบางสถานการณ์บางปัญหาที่เข้ามาในชีวิต ซึ่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องไปแก้ที่สาเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา เหตุเกิดที่ไหนต้องไปแก้ที่นั้น ปัญหาที่เป็นเหตุ คือดับทุกข์ ในชีวิตปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เกิดจากปัจจัยภายในของบุคคล การที่จะผ่านพ้นปัญหาที่เข้ามาในชีวิตได้จำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบส่วนบุคคลและกระบวนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนความกระตือรือร้น เพียรพยายาม มุ่งมั่นที่จะพัฒนามองเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยไม่ประมาท
การควบคุม แรงจัดสรร คือ ความมีวินัย เป็นสิ่งที่จัดระเบียบชีวิต การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เป็นการดำเนินชีวิตตามแบบของและตามกรอบของสังคมที่ได้ตกลงกันไว้ ความมีวินัยเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง จากที่กล่าวมา สามารถเป็นสรุปเป็นวงจรแก้ปัญญาได้คนที่เกิดปัญหา..เรียนรู้ว่าเขาเป็นอะไร  มีความทุกข์อะไร มีปัญหาอะไร  แล้วศึกษาถึงสาเหตุของพฤติกรรมเขาต่อไป  เชื่อมโยงถึงแนวทางการแก้ปัญหาให้ได้ การมองตามความเป็นจริง คือ         เหตุปัจจัยที่สั่งสมสืบทอดกันตามความเป็นจริง  ถ้าเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงโดยปราศจากการปรุงแต่ง  จะทำให้มองเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาได้ตามความเป็นจริง  การมองปัญหา  หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงข้อมูลที่ทำให้เราเกิดการเรียนรู้หรือเกิดปัญญาตามความเป็นจริง จะทำให้เราได้ปัญญาและเกิดความรู้มากด้วย ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ในการพัฒนาต่อไป
การแนะแนวเป็นหน้าที่ของปัจจัยภายนอก  ถ้าหากปัจจัยภายในของบุคลไม่ขับเคลื่อน เช่น ความเชื่อมั่น จิตสำนึกในการพัฒนาเป็นจุดเริ่มต้นของการแนะแนว คือ ความเป็นกัลยาณมิตร กับการแนะแนว ที่กระตุ้นให้ปัจจัยภายใน ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการทำงาน คือ โยนิโสมนสิการ  การทำในโดยแยบคาย เมื่อคนเรารู้จักคิดแล้ว  ก็ทำให้เกิดปัญญาที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ขั้นแรกทำให้เกิดปัญญา ซึ่งเป็นข้อธรรมแรกของระบบ  การดำเนินชีวิตที่ดีงามเรียกว่า“มรรค ๘”
เมื่อกัลยาณมิตรกระตุ้นให้เกิดสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูกต้องแล้วก็จะนำไปสู่การกระทำที่ถูกต้องด้วย     การปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่แรกจึงนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ เมื่อกัลยาณมิตร สามารถกระตุ้นให้เกิดปัจจัยภายในแล้ว หน้าที่ของกัลยาณมิตรวารทำอย่างไรต่อไป
๓. การวิเคราะห์บุคคล
ตรวจสอบว่าที่เราพัฒนาเขาให้ผ่านพ้นอุปสรรค์หรือปัญหานั้นเขาขาดอะไรไปบ้าง ทบทวนสิ่งที่ขาด  เพื่อเพิ่มเติมให้พร้อมที่จะพัฒนาด้วย  ซึ่งองค์ประกอบที่ ๑ เราจะต้องตรวจสอบกับนักเรียน ดังนี้
๑. ทัศนคติเกี่ยวกับประสบการณ์หรือ ความเชื่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากอดีต ถึงปัจจุปันลักษณะของการมองข้อมูล ความพอใจ ไม่พอใจ เป็นเพียงข้อมูลที่นำมาสู่การเรียนรู้เท่านั้น มองโดนภาพรวมมีใจที่เป็นกลาง ไปทางใดทางหนึ่งเมื่อเรามองเห็นตามความเป็นจริงแล้วก็นำความรู้ที่เราได้จากความเป็นจริง  มีเจตคติที่ดี  มาบูรณาการใช้ในกระบวนการแนะแนว
๒. จิตสำนึกในการพัฒนา เอาใจใส่ในการพัฒนา ซึ่งผู้ให้การแนะแนวต้องตรวจสอบดูและพยายามมองให้เห็นปัญหาที่แท้จริง ชี้แนวทางให้มองปัญญหาที่ชัดเจน
๓. สร้างแรงจูงใจที่การพัฒนาตน  มีความใฝ่รู้ใฝ่แสวงหาปัญญาหรือไม่
๔. จิตสำนึกและความเปลี่ยนแปลง มีความกระตือรือร้นหรือไม่
๕. การพิจารณาด้วยปัญญา อะไรเป็นคุณเป็นโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์มองสิ่งต่างๆ  ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยเหตุปัจจัย มุมมองที่เป็นคุณต่อการพัฒนา จิตใจ การแนะแนวที่มุ่งให้บุคคลรู้จักคิดก่อให้เกิดผลดี คือ ทำให้เข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเมื่อมีความรู้ที่ถูกต้องก็ส่งผลให้มีการปฏิบัติถูกต้องตามไปด้วย ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม     การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่สำคัญก่อให้เกิดผลดีต่อชีวิตของ  การรู้คิด เป็นการค้นหาความจริงมองเห็นความเป็นจริงของสิ่งนั้น สืบสาวหาเหตุปัจจัยส่วนแบบที่สอง มองให้เป็นถ้ามองเป็นยาพิษ ต้องพัฒนาให้คิดวิธีคิดใหม่จิตใจประกอบด้วยเมตตา
๖. มีวินัยในการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม การจัดระเบียบชีวิตและจัดสรรความสงบสุข  ปฏิบัติตามขอบเขตของสังคมที่กำหนดทำให้เกิดความสงบสุขแก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ตลอดทั้งความร่มเย็นของโลก ถ้ามีวินัยก็สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาทั้งหมด หากมีบุคคลมาหาเราเพื่อที่จะมาระบายความในใจหรือความทุกข์ สามารถตรวจสอบได้ว่า เขาขาดอะไร ควรเติมเต็มหรือแนะแนวเขาให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือชี้ช่องทางให้เขาปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง องค์ประกอบเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ที่สำคัญในการพัฒนาของมนุษย์

๔. ขั้นตอนการสำรวจตรวจสอบและการเพิ่มศักยภาพ
๑. การว่าท่าทีต่อประสบการณ์ ตา หู จมูก ลิ้น  ไม่ให้ตาตกอยู่ในอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ และโมหะ รับรู้ในลักษณะที่เป็นเพียงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น วางใจเป็นกลาง ไม่ตัดสินสิ่งที่เกิดขึ้นตามที่รับรู้  แต่ใช้เป็นเพียงข้อมูลสำหรับการศึกษาเท่านั้น
๒. การแสดงออกต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม กิเลส ตัณหา มีสติสัมปชัญญะ ระลึกได้ ควบคุมได้ การแสดงออกเพื่อการพัฒนา นี้นำไปสูความเจริญ
๓. เจริญงอกงาม ท่าทีมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงและเกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิตการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๕. การแนะแนวเชิงพุทธ
ตามหลักอริยสัจ[4] ตามแนวเหตุและผล การใช้ปัญญา มีอิทธิพลต่อกระบวนการพัฒนาได้    ซึ่งกระบวนการที่ป้องกันอวิชชาก็คือ การฝึกสติให้เกิดปัญญา การพัฒนาปัญญา ซึ่งคนเราจะสามารถพัฒนาได้นั้นจะต้องพัฒนาปัญญาให้อยู่เหนืออิทธิพลของตัณหา ทำให้บุคคลหลงผิดคิดผิด ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ตัณหาและอวิชชามีความเข้มแข็ง ก็จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาชีวิต ไม่ประสบความสำเร็จได้
หลักการแนะแนวทางพระพุทธศาสนานั้นต้องมุ่งให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วย      ตามหลักเหตุและผล ตามหลักอริยสัจ กล่าวคือ ทุกข์ เมื่อเกิดปัญหาต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาพิจารณาถึงสาเหตุ   ที่เรียกกว่า สมุทัย ว่า เหตุแห่งปัญหานั้นอยู่ที่ไหน เมื่อเราพบแล้วก็ทำการกำจัดเหตุนั้นได้  เรียกว่า นิโรธ ขณะเดียวกันก็พิจารณาว่าความต้องการของเราคืออะไร กำหนดจุดมุ่งหมายแล้ววางวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ  วิธีการปฏิบัตินี้ เรียกว่า “มรรค” เมื่อรู้แนวทางแล้วก็ลงมือปฏิบัติ หากบุคคลได้ดำเนินการตามกระบวนเช่นนี้ ก็จะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้ คืออะไร? (ทุกข์)  มีสาเหตุเกิดจากอะไร (สมุทัย) วิธีการแก้ปัญหาเป็นแบบไหน (นิโรธ) ลงมือปฏิบัติ (มรรค) เป็นปัญญาในขั้นที่ ๓ ภาวนามยปัญญา จึงจะเห็นตามความเป็นจริง
๖. คุณสมบัติของครูแนะแนวเชิงพุทธ
กัลยาณมิตร[5] คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตรธรรม 7)
1.   ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
2.   ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
3.   ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
4.   วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5.   วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
6.   คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
7.   โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสียรวมเป็น ๗ ประการ เรียกว่า คุณธรรมหรือองค์คุณของกัลยาณมิตร ซึ่งเราใช้เป็นคุณสมบัติของครูโดยทั่วไป ซึ่งผู้ทำหน้าที่แนะแนวควรมีคุณสมบัติเช่นนี้เป็นพิเศษ ขณะเดียวกันผู้ที่จะสามารถพัฒนาหรือพึ่งพาได้นั้น จำเป็นต้องมีความพร้อมด้านแรงจูงใจอันเป็นปัจจัยภายในตน (ฉันทะ) ลักษณะของบุคคลที่พึ่งได้ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาด้วยได้[6]
๗. ผู้ที่สามรถฝึกได้ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.      เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ธรรม ได้แก่ ชอบแสวงหาความจริง ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน ชอบสนทนาถกเถียงหาความรู้ความเข้าใจ โดยมีสภาพจิตใจและลักษณะของการแสดงออก ที่ชวนให้คนอื่นอยากปรึกษาหารือร่วมสนทนาด้วย ส่งเสริมบรรยากาศแห่งการแสวงหาความรู้
2.      มีความเพียรขยัน คือ มีจิตใจเข้มแข็ง ก้าวหน้าไม่ท้อถอย สู้กิจสู้งาน รับผิดชอบ ปฏิบัติตามหลักทุกอย่างในข้อก่อนๆ ด้วยความจริงจัง
3.      มีสันโดษรู้พอดี สันโดษในที่นี้คือ การไม่แสวงหาความบำรุงบำเรอฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่าย ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เป็นอยู่ง่าย รู้จักพอในเรื่องวัตถุ แล้วใช้เวลามุ่งหน้าทำกิจของตน คนปัจจุบันมีปัญหาจากความฟุ้งเฟ้อมาก ปล่อยเวลาและแรงงานสูญเสียไปกับเรื่องของการบริโภคเสียมาก อันนี้จะต้องเปลี่ยนใหม่มาเป็นแนวทางของการที่จะเป็นผู้บริโภคแต่พอดี แล้วนำเอาเวลาของแรงงานไปใช้ในการทำหน้าที่ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและพัฒนาสังคม
4.      มีสติมั่นคง คือ ควบคุมได้ มีสำนึกในการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ไม่ประมาท และเท่าทันเหตุการณ์รู้เท่าทันว่าอะไรอย่างไหนจะทำให้เกิดความเสื่อมความเสียหายก็ไม่ทำ อันไหนจะทำให้เกิดความเจริญดีงามก็ทำ ทำกิจกรรมต่างๆโดยมีความรอบคอบระมัดระวัง
5.      มีปัญญาเหนืออารมณ์  คนจำนวนมากมักเอาอารมณ์ความรู้สึกนำหน้าในการแสดงออก หรือแสดงออกทางด้านอารมณ์ ควรเปลี่ยนเป็นว่าเอาวิจารณญาณมาเป็นตัวนำในการกระทำ นี้คือปัญญาของคนที่พึ่งได้
6.      หลักการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้นี้ เรียกว่า “นาถกรณธรรม
๘. จุดมุ่งหมายของชีวิตมีความสำคัญต่อการแนะแนว
ผู้ที่ทำหน้าที่แนะแนวต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของคน ถึงจะสามารถดำเนินการการแนะแนวได้ดีและมีประสิทธิภาพ ในการแนะแนวเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาของคนที่จะพัฒนาได้ ปัญญา มีชีวิตที่ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองเป็น การรู้จักจุดหมายของชีวิตก็เพื่อ
1.      เพื่อจะได้มีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
2.      เพื่อใช้สำรวจตัวตนด้วย และ
3.      เพื่อจะได้มีความมั่นใจใน ในการที่จะพัฒนาตนให้ยิ่งขึ้นไป
๙. พุทธศาสนา “ชีวิตที่ดีงามจะต้องดำเนินให้บรรลุถึงจุดหมาย ๓ ขั้น คือ
1.      ประโยชน์ปัจจุบัน ร่างกาย สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น มีทรัพย์สินที่จะพึ่งได้ในทางเศรษฐกิจ มีสถานะเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า เป็นประโยชน์เบื้องต้น
2.      ประโยชน์เบื้อหน้า คือ มีชีวิตที่ดีงาม มีคุณค่า มีคุณธรรมความดี เริ่มตั้งแต่เป็นผู้มีความประพฤติดีงาม มีปัญญารู้เข้าใจโลกและชีวิตพอสมควร
3.      ประโยชน์สูงสุด คือ การมีจิตใจเป็นอิสระ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต  หลุดพ้นจากความครอบงำของกิเลสและความทุกข์ สามารถทำจิตให้ปลอดโปร่งผ่องใส่ได้ทุกเวลา แม้จะมีอารมณ์เข้ามากระทบก็ไม่หวั่นไหว  ไม่เศร้าหมอง ปราศจากทุกข์ เป็นประโยชน์สูงสุด เรียกว่า ปรมัตถะ ประโยชน์นี้ได้จากการปฏิบัติ ในการเจริญภาวนา ในสิติปัฏฐาน ๔
ประโยชน์ส่วนรวมก็ต้องเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมทั้งรูปธรรม และนามธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาทั้งตนและผู้อื่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนา เช่น กิจกรรมที่ดีงาม และวัฒนธรรมประเพณี ที่ส่งเสริมสติปัญญาและกุศลของชุมชนทั้งหมด

สรุป (Conclusions)
การแนะแนว เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้บุคคลสามารถช่วยเหลือได้ ด้วยการพัฒนาปัญญา สามารถนำปัญญามาใช้ในการแก้ไขปัญญาชีวิตของได้ด้วย ซึ่ง ขาดแรงจูงใจที่ถูกต้องต่อการพัฒนา ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ต้องมีกัลยาณมิตรที่ทำหน้าที่เตือนสติและแนะแนววิธีการแก้ไข     ให้เข้าใจจุดมุ่งหมายของชีวิตเพื่อเอาชนะปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ความต้องการของมนุษย์ เพื่อจะได้นำมาสำรวจและวิเคราะห์ตัวตนของผู้ที่เกิดปัญหา เป็นผู้รู้จักพูดหรือพูดเป็น อดทนต่อการรับฟังปัญหา อดทดต่อการระบายความทุกข์ ของกัลยาณมิตร ซึ่งเราใช้เป็นคุณสมบัติของครูโดยทั่วไป ซึ่งผู้ทำหน้าที่แนะแนวควรมีคุณสมบัติ การพัฒนาโดยแนวทาง เป็นสาระสำคัญของการที่จะช่วยให้บุคคลที่ประสบปัญหา มีความทุกข์ได้พัฒนาตนจนพึ่งได้ คือ         การปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา มีปัญญาเป็นเครื่องนำทางจะเป็นการบรรลุจุดมุ่งหมายของการดำเนินชีวิตที่ดี ชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ดังคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส



บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย:
ก. ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎกภาษาไทย  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ:

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ปธ.๙). อริยวังสปทา. กรุงเทพมหานคร:                  หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔.  กรุงเทพมหานคร: บริษัท        พิมพ์สวย จำกัด, ๒๕๕๐.
                . ความสุขอยู่ที่ไหน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ทครีเอชั่น จำกัด, ๒๕๕๖.
                . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๕. กรุงเทพมหานคร: พระพุทธศาสนาธรรมสภา, ๒๕๕๖.
                . พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๒.
                .พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ชีวิตที่สมบูรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, กรุงเทพมหานคร:  สำนักพิมพ์ระฆังทอง, ๒๕๔๙
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ (ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ.๘). วิปัสสนาภาวนา. กรุงเทพมหานคร:             หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๘.
พระพุทธทาส อินฺทปญฺโญฃ. ปฏิบัติไมจึงต้องมีจิตตภาวนา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๔. เค สนอง วรอุไร, ดร. เพราะถึงธรรมจึ้งพ้นทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๗.
ผศ.ดร.เติมศักดิ์ คทวณิช จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชี่น ๒๕๔๖
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “จิตตวิทยาการบริการ”กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๑
ดร.ยุราวดี เนื่องโนราช “จิตวิทยาพื้นฐาน” กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ๒๕๕๘ หน้าที่ ๓.
ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ “ชีวิต พระพุทธศาสนา และวิทยาศาสตร” กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖
ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ “เทคนิคการให้ข้อมูลกลับอย่างสร้างสรรค์”กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์, ๒๕๖๑
ทันตแพทย์สม สุจีรา “คิดแบบอัจฉริยะ” ทำให้มนุษย์มีสติ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ,
ผศ.ดร.เติมศักดิ์ คทวณิช “จิตวิทยาทั่วไป” กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๔๖
รศ.ดร.สิทธิโชค วรานุสัยติกุล “เปลี่ยนความคิดด้วยจิตวิทยา เชิงบวก” กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๖
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ แปล “ทักษะแห่งอนาคต การศึกษาทศษที่ ๒๑”กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ openworlds พิมพ์ครั้งที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖, หน้าที่ ๖๑.
เฌอมาณย์ รัตนพงศ์ตระกูล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “จิตวิทยาแค่ ๑% ทำให้คุณเหนือคน
jen Sincero ผู้เขียน กานต์สิริ โรจนสุวรรณ ผู้แปล “อยากทำก็ทำ อย่าให้คำพูดคนฆ่าคุณ” จิตสำนึกสั่งให้ฉันทำ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลีร์น




ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ                :  พระคัมภีร์เทพ  ธมฺมิโก  (วรรธน์นศรี)
บัตรประชาชน   :  ๓ ๑*** ๐ ๑๒๕๐ ***
ว/ ด/ ป เกิด    :  ๐๖  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๒๒
สถานที่เกิด       :  กรุงเทพมหานคร
การศึกษา        :  นักธรรมโท  เลขที่ ๒๒๖๐/๐๑๗๑ ปี  ๒๕๖๐  สำนักเรียนวัดสพานสูง
จังหวัดนนทบุรี 
                   :  ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต MBA ปี  ๒๕๕๕ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
                   : ปริญาญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆส วิทยาเขตนครปฐม ปี ๒๕๖๐
: กำลังศึกษาปริญาญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา
ประสบการณ์:   พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครปฐมโครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส.ปริญญาตรี ปรีญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย โครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส.ปริญญาตรี ปรีญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระสอนศีลธรรมแกนนำภาคกลาง รุ่นที่ ๒/๑ สำนักพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย
อุปสมบท         :  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕    อุโบสถวัดสพานสูง 
สังกัด             :  วัดสพานสูง  ๔๙  ตำบลคลองพระอุดม  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เบอร์โทร         :  ๐๙๕-๕๖๙-๖๔๔๘
E-mail.          :  kampithep@gmail.com



[1] ขุ.ม.(ไทย) ๒๙/๔๐๔/๖๒๐/๑๔๙.
[2] วินย.(ไทย) ๔/๒๑-๓๙๓/๑๔.
[3] ขุ.ปฏิ.(ไทย) ๓๑/๑๐๘-๖๑๐/๖๕.
[4] ที.ม.(ไทย).๑๐/๙๙-๓๗๒/๑๕๕.
[5] ม.ม.(ไทย).๑๓/๒๑๒-๖๑๔/๑๘๓.
[6] พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล กราบนมัสการองค์ดาไลลามะ ทิเบต

๑๙ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตร ป.เอก  สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา รุ่นที่ ๗  คุณะมนุษยศาสตร มจร  พระนครศรีอยุธยา ศึกษาดูงาน ต่าง...