วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทความ จิตวิทยาแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชั้นเรียน ป.เอก


จิตวิทยาแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชั้นเรียน
Psychology Theory Concept in a Study of
Behavioral Modification in the Classroom

พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก

บทคัดย่อ
     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำมาประยุกต์เพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน ซึ่งเป็น            การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนในห้องเรียน ซึ่งมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ในแต่ล่ะบุคคล เหมือนอาจจะดูง่ายๆ หากมีการศึกษา วิเคราะห์ แล้วเป็นอะไรที่เข้าใจยากจริงๆ จะมีความเห็นที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจนในแต่ล่ะบุคคล จึงต้องมีเทคนิคทางจิตวิทยาเป็นทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนและแก็ไขจากตัวบุคคล เพื่อแก็ไขบุคลิกภาพที่เหมาะสมและไม่เป็นการ รบกวนผู้เรียนอื่นๆ จึงทำให้ผู้เรียนอื่นๆ มีสมาธิในการเรียนได้ดีขึ้น

คำสำคัญ : จิตวิทยา ทฤษฎี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Abstract
The Behavior Modification Applied In The Classroom, Which Is To Change The Inappropriate Behaviors Of Students In The Classroom That Are Individually Different, Seems To Be Simple. However, If It Is Analytically Studied, It Is Really Difficult To Understand With Clearly Different Opinions From Each Person. Therefore, It Must Have A Psychological Technique As A Basic Theory To Modify And Improve From Individual For Appropriate Personality And Not Interfering Other Students, Causing Other Students Have Better Concentration In Learning.

Key Words: Psychology, Theory, Behavior Modification   



บทนำ
จิตวิทยา จิตวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้ศึกษาจิตวิทยาจะได้นำความรู้มาใช้ในด้านวิจัย เพื่อค้นคว้าในความต้องการของมนุษย์ เพื่อต้องการความต้องการในการซื้อในการขาย หรือทางด้านการศึกษาในห้องเรียน จะเป็นครอบครัว บริษัท หรือสถานการศึกษา ตลอดจนวิชาชืพต่างๆก็ต้องใช้จิตวิทยา ที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการประกอบสัมมาอาชีพ ที่มีความเกี่ยวข้องเนื่องกับชีวิตและการทำงานของมนุษย์ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ตลอดเวลากับทางด้านจิตวิทยา และการอยู่ร่วมกันของสังคม อาจไม่เข้าใจกันกับการสื่อสาร จิตวิทยาก็จะช่วยให้มีความเข้าใจในมนุษย์ ซึ่งกันและกันมากขึ้นด้วย ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์และประกอบชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
พฤติกรรมมนุษย์[1] ทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ตามแนวทัศษนะ ของนักจิตวิทยา เป็นพฤติกรรมที่มนุษญืแสดงออก ที่มีบุคคลิกที่แตกต่างกัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีแนวความคิดคัดค้านกับแนวคิดกลุ่มศึกษาด้วยวิธีการตอบสนองตนเอง เพราะยังไม่เห็นวิธีทางการวิทยาศาสตร มีแนวโน้มทางพฤติกรรมที่เป็นส่วนตัว ส่วนตน ไปทางใดทางหนึ่ง แล้วแต่ความรู้สึกของผู้ศึกษานั้นเอง เน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีมูลเหตุ ในรูปแบบสิ่งเร้าที่มากระทบอินทรีย์ จึงทำให้มีพฤติกรรมที่ตอบสนอง และสามารถเปลี่นแปลงได้[2]
จิตวิทยาการศึกษาพฤติกรรม ความหมายของจิตวิทยาและพฤติกรรม
จิตวิทยา Psychology นิยามของอาชีพนักจิตวิทยา
นิยามปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทุกๆด้าน  ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตอย่างมากเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้   และจิตวิทยาก็เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้นด้วยเพราะจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงความต้องการทัศนคติ     ปฏิกิริยาและพฤติกรรมของบุคคลอื่นช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขความหมาย
จิตวิทยา หรือ Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Psyche หมายถึง Mind (จิต) หรือ Soul (วิญญาณ) กับ Logos หมายถึง  Science  (ศาสตร์,วิชา)  หรือ Study (ศึกษา)เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ ซึ่งวัตสัน  (John B.watson)  ให้แนวคิดว่าการแสดงออกที่ เรียกว่า พฤติกรรม พฤติกรรมเป็นการสะท้อนให้เห็นจิตบุคคล ฉะนั้นเมื่อต้องการศึกษาเรื่องจิตก็ควรศึกษา เรื่องพฤติกรรม ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า จิตวิทยาเป็นการศึกษาที่เป็นระบบระเบียบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม และกระบวนการของจิตวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่ความพยายามที่จะเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล  พยายามที่จะศึกษาว่ามีตัวแปรและสถานการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดพฤติกรรม จะได้สามารถคาดคะเนเพื่อพยากรณ์ไว้ได้ล่วงหน้าและช่วยให้สามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นๆ รวมทั้งทำให้เกิดขึ้นในทิศทางที่ต้องการได้
พื้นฐานที่มาของพฤติกรรม
๑.รู้จัก เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของตนเอง และผู้อื่นทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๒. ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆเพื่อจะได้คาดคะเนหรือพยากรณ์ล่วงหน้าและควบคุมการเกิดและไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
นอกจากนี้ จิตวิทยามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้นำหรือผู้บังคับบัญชา          ซึ่งจะต้องมีความสามารถในการบังคับบัญชา จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ มีความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน ยอมรับนับถือผู้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ ผู้นำจะต้องมีความเข้าใจหลักจิตวิทยาในการปกครอง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา แก็ปัญหาในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนบำรุงรักษาผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ในหน่วยงาน
พฤติกรรมของมนุษย์ลักษณะของจิตมนุษย์
จิตใจ เป็นคำที่มีความหมายหลายๆ ด้านตามแนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยาต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงจิตใจตามวิเคราะห์ ฟรอยด์(Freud) เชื่อว่าจิตของมนุษย์แบ่งเป็น ๓ ระดับ (Three Leveis of Consciousness) เปรียบเทียบเสมือนก็อนน้ำแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
๑. จิตสำนึก (Conscious) คือสภาวะที่มีสติรู้ตัว รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังจะทำอะไรรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร ทำอะไรอยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด การแสดงอะไรออกไปที่แสดงไปตามหลักเหตุผลเปรียบได้กับส่วนของก็อนน้ำแข็งที่โผล่ผิวน้ำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก
๒. จิตใต้สำนึก (Subconscious ) หรือ จิตก่อนสำนึก  (Preconscious)  คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลงโดยไม่รู้ตัว ยิ้มคนเดียวโดยไม่รู้ตัว พูดอะไรออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เช่น ความประทับใจในอดีตถ้าไม่นึกถึงก็ไม่รู้สึกอะไรแต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เกิดปลื้มใจทุกที เปรียบได้กับส่วนของก็อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
๓. จิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นส่วนของจิตที่ใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นส่วนที่ไม่รู้สึกตัวเลย อาจมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น เกลียดครู  หรือพยายามที่จะลืม  แล้วในที่สุดก็ลืมๆ ไปดูเหมือนไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวลักษณะจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาในรูปความฝัน การละเมอ เปรียบได้ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำนอกจากนี้ ฟรอยด์ ได้ศึกษาองค์ประกอบของจิต พบว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วย              (The Components of Mind) ไว้ ๓ ส่วนคือ
สิ่งที่กำหนดพฤติกรรม
๑. อิด (ID) หมายถึง ตัณหา หรือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ขัดเกลาซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจ หรือทำงานตามความพึงพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด   เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (LIEF INSTINCT)    เป็นความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย และสัญชาตญาณแห่งการตาย (DEATH INSTINCT) เช่น ความต้องการก็าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น    เป็นต้น
๒. อีโก็ (EGO) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ ID โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความเจริญมาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกมาความพึงพอใจของตนเองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคิดและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
๓. ซุปเปอร์อีโก็ (SUPEREGO) หมายถึง มโนธรรมหรือจิต ส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน หรือ กระบวนการทางสังคมประกิต โดยอาศัยหลักของศีลธรรม จรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆในสังคมนั้น SUPEREGO จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
โครงสร้างจิตนี้ จะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน   แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง    ระบบ   ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ คนโดยทั่วๆไป ถ้ามองหยาบๆจะมีอวัยวะครบถ้วนเหมือนกัน        มีปฏิกิริยาตอบสนองธรรมชาติเหมือนๆกัน แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งจริงๆ จะเห็นว่าคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำที่ดีในการที่ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลก่อน
กระบวนการรับรู้ที่เกิดพฤติกรรม
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเข้าใจธรรมชาติของคนเราสามารถแบ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ๆ คือ
๑. ทางกาย (Physical) เช่น หน้าตา ท่าทาง โครงกระดูก ผิว ผม ลักษณะของกล้ามเนื้อ    อ้วน ผอม แข็งแรง ฯลฯ ซึ่งความแตกต่างกันทางกายภาพนี้ หมายถึงรูปร่างที่เห็นได้จากภายนอกนั่นเอง ความแตกต่างทางกายภาพนี้อาจมีอิทธิพลไปสู่ความแตกต่างด้านอื่นๆอีก  เช่น ร่างกาย อ้วนมากๆ  หรือผอมมากๆย่อมไม่คล่องตัวกระฉับกระเฉงเหมือนคนแข็งแรง ไปไหนมาไหนคนมักจะชอบล้อเลียนชอบกระเซ้าทำให้เกิดปมด้อยในการเข้าสังคมแม้ด้านอารมณ์ (Emotion) ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือต้องปรับปรุง ซึ่งผิดไปจากบุคคลธรรมดาเป็นต้น นอกจากนี้ ความแตกต่างทางกายยังรวมถึงความสามารถอันเกิดจากการกระทำหรือการแสดงออกของร่างกายด้วย เช่น คนหนุ่มคนสาวย่อมแสดงออกเชิงพลังได้ดีกว่าคนสูงอายุหรือเด็ก คนวัยเดียวกัน ถ้าร่างกายได้รับการฝึกฝนดีก็ย่อมจะดีกว่าคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนหรือฝึกฝนน้อย เป็นต้น
๒. ทางอารมณ์ (Emotion) หมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ   เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ อิจฉา ลำเอียง ก็าวร้าว ขบขันฯลฯ ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์นี้ย่อมมีความมากน้อยไม่เท่ากัน และแสดงออกมาไม่เหมือนกันการควบคุมทางอารมณ์ก็เช่นเดียวกัน คนเรามีความแตกต่างกัน บางคนสามารถควบคุมได้ดีแต่บางคนไม่สามารถควบคุมได้ ปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ที่เกิดอารมณ์นี้จะได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา
๓. ทางสติปัญญา (Intelligence) หมายถึง เรื่องของความคิดหรือความแตกต่างกันในการแก็ปัญหาคนปัญญาดี หรือเรียกว่า IQ สูง (ตั้งแต่ ๑๐๐ ขึ้นไป) จะคิดได้หลายแง่หลายมุม ละเอียดอ่อน แก็ปัญหาได้มากกว่าทั้งชีวิตประจำวันและครอบครัว แต่คนปัญญาด้อย หรือเรียกว่า IQ  ต่ำ (ตั้งแต่ ๙๐ ลงไป) จะคิดได้น้อยลงอยู่ในกรอบความคิดที่ไม่กว้างนัก ยึดมั่นในสิ่งแคบๆ ถ้าเข้าเรียนหนังสือก็อาจจะไม่จบหรือออกกลางคัน การแก็ปัญหาที่เกิดขึ้นจะประสบความสำเร็จได้ยากกว่า
๔.  ทางสังคม (Social) หมายถึง ความสามารถที่แสดงออกในหมู่คนหรือระหว่างคนซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแม้จะมีสติปัญญาพอๆกัน แต่ความสามารถในการเข้าสังคมย่อมมีได้ไม่เหมือนกัน    คนที่เข้าสังคมได้ดีกว่าเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนฝูงระดับเดียวกันหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมนำมาซึ่งความเจริญก็าวหน้าได้ดีกว่าคนที่เข้าสังคมได้ไม่ดี หรือมีอุปสรรคในการำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
แนวคิดปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงของบุคคล
สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันมีหลายประการ คือ
๑.  พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากสายเลือดของบิดามารดาและปู่ย่าตายาย โดยมียีน (Gene) เป็นตัวทำหน้าที่สืบทอดลักษณะ ลักษณะต่างๆที่ได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษทางพันธุกรรม จะทำให้คนเราแตกต่างกัน ดังนี้ เชื้อชาติ  (Race)  เช่น ไทย   ฝรั่ง นิโกร จีนฯลฯ ย่อมมีลักษณะเฉพาะชาติของตนเองแตกต่างจากชาติอื่นๆ ลักษณะรูปร่างโครงกระดูก ขนาดร่างกาย หน้า ตา ผิวพรรณ สีผม สำเนียงภาษา เพศ (Sex) โดยธรรมชาติจะมี ๒ เพศ   คือ หญิงกับชายซึ่งมีลักษณะประจำเพศแตกต่าง เช่น เพศชายจะรูปร่างแข็งแรง ไหล่ผายอกกว้าง     มีหนวด เพศหญิงจะมีรูปร่างกลมกลืน ตะโพกพาย เป็นต้น ชนิดของกลุ่มเลือด โดยลูกจะมีเลือดกลุ่มเดียวกับพ่อหรือแม่ เช่น พ่อเลือดกลุ่ม O แม่เลือดกลุ่ม B ลูกมีโอกาสเป็น O,ความบกพร่องทางร่างกาย และโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง เช่น ตาบอดสี ศีรษะล้าน โรคเบาหวาน โรคลมชัก ผิวเผือก ลักษณะรูปทรงของร่างกาย โดยมีนักจิตวิทยากล่าวถึงแบบของร่างกายของคนไว้ดังนี้ Krestschmer นักจิตวิทยาชาวเยอรมันได้แยกความแตกต่างทางกายภาพของคนออกเป็น๔  แบบ
๑. Asthenic or Leptosome Type พวกผอมสูง ตัวยาว (Long –thin Type)  แขน-ขายาวพวกนี้มีแนวโน้มเป็นคนเงียบเหงาช่างคิด เจ้าอารมณ์ มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว
๒. Pyknics Type รูปร่างอ้วน เตี้ย หนา ( Short-Thick Types) คอใหญ่ ท้องฟลุ้ย พวกอารมณ์เปลี่ยนแปลงอ่อนไหวง่าย เดี๋ยวสดชื่น ร่างเริง เดี๋ยวเศร้า ซึม กลับไปมาระหว่างความร่าเริง     และความเศร้าเป็นพวกที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว
๓. Athletic Type มีลักษณะระหว่าง  Phyknics และLeptosomeร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อมากเป็นแบบนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย หรืองานกลางแจ้ง ชอบสนุกสนาน
๔. Dysplastic Type or Mixed Type บุคคลที่สัดส่วนของร่างกายไม่สอดคล้องกันมักมีรูปร่างสูงใหญ่ผิดปกติธรรมดา สติปัญญาต่ำ ขี้โรค
พฤติกรรมส่วนบุคคล
สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมากจากพันธุกรรม ได้แก่ ความคิด ความจำ เชาวน์
ความสามารถที่มีมาแต่กำเนิดหรือความถนัด ( Aptitude)    เฉพาะตัวหรือพรสวรรค์ แต่ละคนรับถ่ายทอดมาจากผู้ให้กำเนิด
สิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราและทำให้คนเราแตกต่างกัน ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู การคบเพื่อน การสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ดินฟ้าอากาศ ที่อยู่อาศัยและอาหาร ลำดับการเกิด สื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเราแตกต่างกัน  ดังนี้ สภาวะขณะอยู่ในครรภ์ มีผลต่อบุคลิกภาพมาก เช่น ถ้ามารดาบริโภคอาหารดีมีคุณค่าถุงมดลูกดีอยู่สภาพสมบูรณ์มีน้ำหล่อเลี้ยงดีเด็กเจริญเติบโตแข็งแรงดีถ้ามารดาสุขภาพไม่ดีมีโรคแทรกเด็กจะมีร่างกายและพลานามัยไม่สมบูรณ์โรคบางชนิด เช่น ถ้าแม่อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด โกรธ กลุ้มใจ วิตกกังวล หวาดกลัว เด็กก็จะได้รับความกระทบกระเทือนด้วย  เจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญพ่อแม่ที่อยากมีลูกก็จะชื่นชมตั้งใจเลี้ยงดูเอาใจใส่ทะนุถนอมอย่างดี การเลี้ยงดูของบิดามารดา    อาหารดี มีคุณภาพ อนามัยดี บำรุงรักษา ให้สุขภาพแข็งแรง ความอบอุ่นจะทำให้เด็กเจริญเติบโตทั้งทางกาย      อารมณ์ คนที่รู้จักกินอาหารดีมีประโยชน์ร่างกายย่อมมีความสมบูรณ์แข็งแรง  ประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน ประสบการณ์  กับการเรียนรู้ทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แยกออกจากกันมิได้ ประสบการณ์เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และในเวลาเดียวกันนั้นผลจากการเรียนรู้ทำให้คนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ แต่ต้องอาศัยการจัดประสบการณ์ที่ดีพอจึงจะทำให้
สภาพทางภูมิศาสตร์  ดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องถิ่น  อิทธิพลที่ทำให้ท้องถิ่นมี ความกระตือรือร้นมีความคิดสร้างสรรค์ท้าทายใช้สติปัญญาคอสภาพภูมิศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ ระบบของสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น นาฏศิลป์ประจำชาติ  มารยาทในสังคม     อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การใช้ภาษา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต แนวความคิดและอุดมคติ ทำให้พฤติกรรมของแต่ละสังคมแตกต่างกัน
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
ความต้องการพื้นฐาน  เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของความแตกต่างระหว่างบุคคล มาสโลว์ (Maslow)  กล่าวว่า ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดมีอยู่ ๕ ขั้นตอน เริ่มจากต่ำสุดไปสูงสุด โดยที่มนุษย์จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่ำสุดจนเป็นที่พอใจก่อนที่ความต้องการขั้นสูงความต้องการของมนุษย์แต่ละคนจะแตกต่างกันไป และพฤติกรรมหนึ่งก็สามารถตอบสนองความต้องการหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน
๑. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Basic Physioloyical Need)  เป็นความต้องการเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต  เช่น อากาศ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การพักผ่อน      การขับถ่ายเป็นต้น
๒. ความต้องการความปลอดภัย  (Safe and Security Need) เป็นความต้องการความปลอดภัยมั่นคง ความคุ้มครองปกป้อง ความต้องการความมั่นคงทางวัตถุปัจจัยภายนอก            ความปลอดภัยจากการคุกคาม ปลอดภัยจากความวิตกกังวล อันตรายและความเจ็บปวดต่างๆ
๓. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Need)     หมายถึงความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความรัก อยากให้ตนเป็นที่รักได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ต้องการส่วนร่วมในกลุ่ม
๔. ความต้องการการยอมรับนับถือ (Esteem Need) หมายถึง ความต้องการความเคารพนับถือจากผู้อื่น (respect from others) บางที่เรียกว่า Self Esteem
๕. ความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน (Self Actualization Need) เป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ที่จะต้องพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมและความสามารถของตนเองในทางที่สร้างสรรค์ดีงาม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในห้องเรียน
ในการจัดห้องการเรียนการสอน ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาคือ ครูผู้สอน โดยเฉพาะพฤติกรรมทางด้านการเสริมแรงเชิงบวก และวิธีการอื่นๆ ไม่ให้มีการลงโทษใดทั้งสิ้น มีแต่คำชมเชยให้การสร้างความดี และก็ชมเชยให้แก็ไขในส่วนที่ต้องแก้ไข ไม่ใช้การดุหรือด่าเด็กๆ นักเรียน ห้ามเป็นอันขาด ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมในการเสริมแรงบวกไม่ได้ผล ไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้
แนวทางในการปรับพฤติกรรมในห้องเรียน
๑. การจัดบรรยายกาศในชั้นเรียน
๒. การใช้เทคนิคนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แนวทางที่ ๑ ในการจัดบรรยายกาศในห้องเรียน ตามแนวทางพุทธจิตวิทยา พุทธธรรมตามคำสอนสมเด็จพระสัมมามาสัมพุทธเจ้า คือ ความ กัลยานิมิตร[3] มีดังนี้
กัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นมิตรที่หวังดี มีสิ่งดี ๆ ให้กันด้วยความจริงใจ คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตรธรรม 7)
๑.      ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
๒.      ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
๓.      ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
๔.      วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕.      วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
๖.      คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗.      โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
แนวทางทางที่ ๒ ในการใช้เทคนิคนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น
๑.      การให้การเสริมแรง การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ของสกินเนอร์ ช่วยแก็ไขพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมแรงในคำชม ให้การส่งเสริมในด้านกิจกรรม ให้นักเรียนพูด แสดงความคิดเห็น ในกิจกรรมที่นักเรียนชอบ หรือมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ก่อนจะหมดเวลาในห้องเรียน เมื่อได้รับการเสริมแรงนักเรียนก็จะสนใจมากขึ้น และก็ทำให้นักเรียนมีผลคะแนนมากขึ้นตามลำดับ
๒.      การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แก็ไขความกลัวและความกังวล ซึ่งจะประกอบได้กับทัศษะทางสังคม และเทคนิคต่างๆ การแสดงสมมุติฐาน เพื่อให้เกิดการแสดงออก ตามธรรมชาติที่แท้จริง ในการพูดในการคิด หรือการแสดงกิริยามารยาท ที่เป็นกระบวนการแสดงออกมา ตามสิทธิด้วยความมั่นใจ ตรงต่อทัศษะคติหลักธรรมและคำสอน
๓.      การเตือนสติตนเอง เป็นเทคนิค เพื่อช่วยให้เด็กหรือบุคคล ที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาสังเกตุ ในสถานการณ์ และรายงานผู้ปกครองหรือครูที่ปรึกษาให้ทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการและสามารถแก็ไขปัญหาได้ต่อไป คือการจดบันทึกสังเกตุพฤติกรรมตนเองในความผิดปรกติ เป็นการควบคุมภายใน แต่ภายนอกครูก็จะเป็นผู้เสริมแรงบวก
๔.      การชี้แนะแนวทาง เป็นการกระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ต้องการออกมา เป็นเครื่องเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมทางสังคม แก็โดยอาศัยเครื่องช่วยชี้แนะแนวทาง เช่น การพูดกระตุ้น การใช้กิริยาท่าทาง เป็นต้น
๕.      การฝึกตอบสนองตนเอง ศึกษาถึงพัฒนาการสัมพันธ์ ความคิดและกิริยาท่าทาง การควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมทางสังคมพัฒนาไปสู่การตอบสนองตนเอง
ขั้นตอนการปรับพฤติกรรมที่นำมาใช้ในชั้นเรียน
เมื่อครูเข้าใจลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการแก็ไข ก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้
๑.      เลือกพฤติกรรมที่ต้องแก็ไข เลือกพฤติกรรมตามเป้าหมาย เราต้องเน้นพฤติกรรมที่ต้องการสำรวจดูว่าจะแก็ไขพฤติกรรมอะไร หรือเรียกอีกอย่างว่า พฤติกรรมเป้าหมาย หรือพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์นั้น
๒.      วิเคราะห์พฤติกรรมที่ต้องการแก็ไข คือ การจำแนกกลุ่มพฤติกรรมออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่สังเกตุ และจำนวนปริมาณ
๓.      เลือกเทคนิคต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นั้นต้องเลือกให้เหมาะสม เช่นต้องการลดพฤติกรรมในด้านใด ใช้เทคนิคจริงที่อยู่ในห้องเรียน หรือจากสถานการณ์จริงๆ อยู่ในรูปกิจกรรม และเสริมแรงบวก
๔.      ประเมินผลปรับพฤติกรรม สังเกตุการณ์ เปรียบเทียบ ดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง
สรุป
จิตวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งพฤติกรรม ความชอบ ความไม่ชอบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการทดสอบทางทฤษฎี ในการศึกษา
ในการศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชั้นเรียน ก็จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการ นักเรียนอาจจะแสดงออกที่มีความสลับซับซ้อนที่แตกต่างกัน ก็จะสามารถสร้างปัญหาในชั้นเรียนได้ตลอดเวลา ถ้าเข้าใจถึงสาเหตุ ก็จะทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ เป็นไปในทางที่ดีก็จะได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ทั้งส่วนตัวและสังคม



บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย:
ก. ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎกภาษาไทย  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ:

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกฯ. สมาธิ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๔๐.
พระสมเด็จพระพุทธจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). แปล และเรียบเรียง คัมภีร์วิสุทธิมรรค.           พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด, ๒๕๕๖.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ปธ.๙). อริยวังสปทา. กรุงเทพมหานคร:                  หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔.  กรุงเทพมหานคร: บริษัท        พิมพ์สวย จำกัด, ๒๕๕๐.
                . ความสุขอยู่ที่ไหน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ทครีเอชั่น จำกัด, ๒๕๕๖.
                . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๕. กรุงเทพมหานคร: พระพุทธศาสนาธรรมสภา, ๒๕๕๖.
                . พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๒.
                .พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ชีวิตที่สมบูรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, กรุงเทพมหานคร:  สำนักพิมพ์ระฆังทอง, ๒๕๔๙
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:     โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม๑. กรุงเทพมหานคร: บรัษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๕.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ (ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ.๘). วิปัสสนาภาวนา. กรุงเทพมหานคร:             หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๘.
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี). วิปัสสนาภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร:          บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๕.
พุทธทาสภิกขุ. พจนานุกรมประมวลธรรมฉบับพุทธทาส. นครปฐม: พระพุทธศาสนา        ธรรมสภา, ๒๕๕๔.
พระพุทธทาส อินฺทปญฺโญฃ. ปฏิบัติไมจึงต้องมีจิตตภาวนา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๕๔. เค เอ็น. ชยติลเลเก. ศ.ดร. จริยศาสตร์แนวพุทธ. แปลและเรียบเรียงโดย ผศ.สุเชาว์ พลอยชุม.   พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
สนอง วรอุไร, ดร. เพราะถึงธรรมจึ้งพ้นทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๗.
ผศ.ดร.เติมศักดิ์ คทวณิช จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชี่น ๒๕๔๖
เค เอ็น. ชยติลเลเก, ศ.ดร., จริยศาสตร์แนวพุทธ, แปลและเรียบเรียงโดย ผศ.สุเชาว์ พลอยชุมพิมพ์ครั้งที่ ๓,กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “จิตตวิทยาการบริการ”กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๑
ดร.ยุราวดี เนื่องโนราช “จิตวิทยาพื้นฐาน” กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ๒๕๕๘ หน้าที่ ๓.
ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ “ชีวิต พระพุทธศาสนา และวิทยาศาสตร” กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖
ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ “เทคนิคการให้ข้อมูลกลับอย่างสร้างสรรค์”กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์, ๒๕๖๑
ทันตแพทย์สม สุจีรา “คิดแบบอัจฉริยะ” ทำให้มนุษย์มีสติ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ,
ผศ.ดร.เติมศักดิ์ คทวณิช “จิตวิทยาทั่วไป” กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๔๖
รศ.ดร.สิทธิโชค วรานุสัยติกุล “เปลี่ยนความคิดด้วยจิตวิทยา เชิงบวก” กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๖
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ แปล “ทักษะแห่งอนาคต การศึกษาทศษที่ ๒๑”กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ openworlds พิมพ์ครั้งที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖, หน้าที่ ๖๑.
เฌอมาณย์ รัตนพงศ์ตระกูล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “จิตวิทยาแค่ ๑% ทำให้คุณเหนือคน
jen Sincero ผู้เขียน กานต์สิริ โรจนสุวรรณ ผู้แปล “อยากทำก็ทำ อย่าให้คำพูดคนฆ่าคุณ” จิตสำนึกสั่งให้ฉันทำ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีเลีร์น
 
(๒) บทความ:

สมภาร พรมทา. “ทุกข์ในพุทธปรัชญา มุมมองจากลัทธิดาร์วิน”. พุทธศาสน์ศึกษา        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม -  เมษายน ๒๕๔๓).

(๓) วิทยานิพนธ์: สารนิพนธ์:

พระมหาอนุชน  สาสนกิตฺติ  (คำมี). ศึกษาวิธีการเจริญอริยปัญญาขันธ์ในสุภสูตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
พระตี๋ สีลเปโม (เซิน ). “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่่องนิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดเรื่องความสุขตามแนวอสุขนิยมแบบปญญานิยม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
แม่ชี ศุกร์ภาวดี ณ พัทลุง. “การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตามหลักไตรสิกขากรณีพุทธทาสภิกขุ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. “การวิเคราห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร         ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
นรัญญา ธนกุลภารัชต์. “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความสุขของพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับ         สุขนิยมทางจริยศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๗.
สำราญ วงษ์คำพันธ์. “กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนไมตรีจิตไทย-อเมริกัน.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.




ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ                :  พระคัมภีร์เทพ  ธมฺมิโก  (วรรธน์นศรี)
บัตรประชาชน   :  ๓ ๑*** ๐ ๑๒๕๐ ***
ว/ ด/ ป เกิด    :  ๐๖  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๒๒
สถานที่เกิด       :  กรุงเทพมหานคร
การศึกษา        :  นักธรรมโท  เลขที่ ๒๒๖๐/๐๑๗๑ ปี  ๒๕๖๐  สำนักเรียนวัดสพานสูง
จังหวัดนนทบุรี 
                   :  ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต MBA ปี  ๒๕๕๕ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
                   : ปริญาญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆส วิทยาเขตนครปฐม ปี ๒๕๖๐
: กำลังศึกษาปริญาญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา
                  
ประสบการณ์    :  เลขานุการพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา รุ่นที่ ๑๐  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆส วิทยาเขตนครปฐม
                   :  พระวิปัสสนาจารย์สอนกัมมัฏฐานนิสิต โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี ๒๕๕๗ มจร.วังน้อยฯ
                   :  พระวิปัสสนาจารย์ โครงการอุปสมบท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   2558
                   :  นำวิปัสสนากัมมัฏฐานสู่พระนวกะ ๒๕๕๖ คณะสงฆ์อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี
:  สัมมนาพระวิปัสสนาจารย์เพื่อการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานสำหรับนิสิต ๒๕๕๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  พระนิเทศวิถีพุทธ รุ่น 2 โครงการการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  คณะกรรมการตรวจโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทานฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
:  พระวิปัสสนาจารย์  โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
:  พระวิปัสสนาจารย์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๗ วัดสพานสูง
                   :  คณะกรรมการฝึกอบรมกิจกรรม สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๗ วัดสพานสูง 
:  คณะกรรมการโครงการ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสพานสูง
:  คณะกรรมการคุมสอบนักธรรมศึกษา สนามหลวง
      :  คณะกรรมการร่างหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐานพัฒนาวิถีพุทธ
      :  พระวิปัสสนาจารย์และเลขานุการ โครงการกัมมัฏฐานนิสิตทุกชั้นปี ปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอกระหว่างวันที่ ๑๖-๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) ประจำปี ๒๕๖๐
      :  ประธานพระวิปัสสนาจารย์วิถีพุทธ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการโรงเรียนวิธีพุทธ    ที่ประชุม ที่ พิเศษ ๐๑/2561 ในวันที่ ๒๔ เมษยน ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) พระนครศรีอยุธยา
      :  อดีตประธานพระวิปัสสนาจารย์วิถีพุทธ ลาออกวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑
:  พระสอนศีลธรรม สำนักพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำโรงเรียนวัดสพานสูง (รถไฟนุเคราะห์) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ – ปัจจุบัน
:  ประธานโครงการสร้างพระไตรปิฏก โครงการ หนึ่งปี หนึ่งชุดพระไตรปิฏก     ปี ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน
:  พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครปฐม โครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส.ปริญญาตรี ปรีญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระวิปัสสนาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย โครงการปฏิบัติธรรมนิสิต ป.บส.ปริญญาตรี ปรีญญาโท ปี ๒๕๖๑
:  พระสอนศีลธรรมแกนนำภาคกลาง รุ่นที่ ๒/๑ สำนักพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตส่วนกลางวังน้อย
อุปสมบท         :  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕    อุโบสถวัดสพานสูง 
สังกัด             :  วัดสพานสูง  ๔๙  ตำบลคลองพระอุดม  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เบอร์โทร         :  ๐๙๕-๕๖๙-๖๔๔๘
E-mail.            :  kampithep@gmail.com







[1] ดร.ยุราวดี เนื่องโนราช จิตวิทยาพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร :โอเดียนสโตร์, ๒๕๕๘
[2] ถวิล ธาราโภชน์ และศรันย์ ดำริสุข จิตวิทยาทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพมหานคร :ทิพยวิทสุทธิ์ ๒๕๔๑
[3] พระไตรปิฏก (ไทย) ๖/๒๕-๓๒๘/๗๖-๗๗.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล กราบนมัสการองค์ดาไลลามะ ทิเบต

๑๙ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตร ป.เอก  สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา รุ่นที่ ๗  คุณะมนุษยศาสตร มจร  พระนครศรีอยุธยา ศึกษาดูงาน ต่าง...