ประกาศ
เจริญพรร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีกองทุนการศึกษาปี
๒๕๖๐
เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาพระภิกษุสงฆ์,นิสิต,นักศึกษา,นักเรียน
ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ วัดสพานสูง
ติดต่อสอบถาม
เลขาประธานโครงการ พระสมุห์ไพบูลย์
ฐิตธมฺโม ผช.จร.วัดสพานสูง
ประธานโครงการดำเนินการกองทุนการศึกษา
ติดต่อด้วยตัวเองบริจาคได้ที่
สำนักงานวัดสพานสูง
กองเลขานุการ
ศพอ.วัดสพานสูง
๐๘๔-๐๒๐๔-๓๒๒
ความสุขสวัสดิ์จงมีแด่เจ้าภาพทั้งหลาย
เจริญธรรม เทอญ
ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตร
A
Study of Insight Meditation Practice in
Subha Sutta
พระคัมภีร์เทพ ธมฺมิโก (วรรธน์นศรี)[1]
ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง ป.ธ. ๙[2]
บทคัดย่อ
สาระนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์
๒ ประการคือ ๑) ไปศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในสุภสูตร, ๒) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตร
ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (เอกสาร)
โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารที่เกี่ยวข้องนำมารวบรวมเรียบเรียงบรรยายเชิงพัฒนาตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วนำมาศึกษาและอธิบายเพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า “สุภสูตร” เป็นพระสูตรที่พระอานนท์แสดงสุภมานพโตเทยยบุตร ให้ประชาชนสมาทานตั้งอยู่ในสีลขันธ์หรืออริยสีลขันธ์ซึ่งเป็นสีลในองค์มรรคเพื่อการเจริญวิปัสสนาภาวนา
คือ ๑) สัมมาวาจาได้แก่ การพูดจาชอบ ประกอบด้วย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด
คำหยาบและไม่พูดเพ้อเจ้อ ๒) สัมมากัมมันตะ หรือการทำงานชอบคือ ไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ขโมยสิ่งของคนอื่น ไม่ประพฤติผิดในกาม
๓) สัมมาอาชีโว คือการเลี้ยงชีวิตชอบ โดยละการเลี้ยงชีพที่ผิด
การปฏิบัติตามธรรมวินัย การปฏิบัติในความเพียร ได้ศีลในสามองค์มรรค เป็นการสืบเนื่องต่อสติสัมปชัญญะ
ถ้าศีลสมบูรณ์แล้วอริยมรรคก็เกิดร่วมกับสมาธิขันธ์หรือ อริยสมาธิขันธ์ คือ
การเจริญภาวนาในจิตของตน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา หรือการเพ่งเล็งด้วยความโลก
มีสติสัมปชัญญะ มีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบเป็นประธาน ซึ่งจะเป็นบาทฐานในมรรค ๘ มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง น้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตนในปัญญาขันธ์หรืออริยะปัญญาขั้นต่อไป
ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาในขั้นของปัญญา
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสรรเสริญให้สมาทานตั้งอยู่ไม่ได้ มีกิจอื่นขึ้นไปอีก เมื่อพระอานนท์แสดงธรรมจบสุภมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมได้เสวยสุขปราศจากโทษมีการบรรลุธรรมตั้งแต่ฌานขั้นที่
๑-๘ ซึ่งเป็นโลกิยะและสามารถเปลี่ยนกำหนดยกจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา
โดยการดูอาการปรากฏขึ้นและดับไปของนามรูปจนจิตเข้าสู่ญาณหรือวิปัสสนาญาณ
ผลของสุภสูตรก็คือ การได้โลกิยสุข ถึงโลกุตรธรรม ๙ มี มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
คำสำคัญ ไตรสิกขา สีล สมาธิ และปัญญา
Abstract
This
thematic paper had two objectives; 1) to study contents and essential teaching
found in Subhasutta, 2) to study insight meditation development in Subhasutta.
The study was qualitative research by taking primary source from Theravada
Buddhist texts and concerned documents. The collected data was analyzed,
approved by advisor then re-corrected and composed in descriptive style to
comply with objects of research.
Research
results were found that ‘Subhasutta’ is the sutta which Ananda delivered to Subhamanava in order to persuade him
in observing morality (Sīlakhandha) which was one path for insight
meditation practice composed of; 1) Sammāvācā or right speech, no lying ,no
gibe, no harsh words, no prate, 2) Sammākammanta or right actions; no killing
animals, stealing, no misconducts on sexuality, 3) Sammā-ājīvo or the right livelihood by avoiding wrong living,
following teaching of Buddha, encouraging effort, setting in three main path
which is maintaining of mindfulness and awareness. The perfect morality will
occur with concentration aggregate or noble concentration aggregate which
refers to mind development of oneself, purifying mind from greed or lust.
Practitioners must apply mindfulness, with right views as president which later
will become the base of noble eightfold path. They can gain the right
knowledge, right liberation which one can see and experience by himself,
bending into the innate mind and belonging to the wise who individually
realizes the great wisdom or noble wisdom. For insight meditation practice,
Buddha taught people to live with morality, not concern with other activity.
After Ven. Ananda finished delivering dhamma, Subha, a young man announced himself
as Buddhist laity. When one lives in morality, gaining happiness which come
from entering worldly first absorption up to eight absorption then uplifts his
mind to develop insight by observing true manners of appearing and extinction
of name and forms until entering into great wisdom or insight knowledge. The
profit of Subbhasutta is the gains of worldly happiness and entering the nine
transcendent spheres composing of 4 path, 4 fruit and 1 Nibbana.
Key Word Threefold training
๑. บทนำ
เมื่อในสมัยพุทธกาล ปรากฏในพระสูตร พระอานนท์เป็นผู้แสดงสุภมานพ
โตเทยยบุตร ผู้ที่หลังจากที่
การสอบถามปัญหา สุภมานพทราบว่าพระอานนท์มาที่พักที่ วัดพระเชตวันมหาวิหาร
จึงให้คนไปนิมนต์มาที่บ้านเรียนถามว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญธรรมอะไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญธรรมอันใดเล่า และ
ทรงชักชวนให้ประชาชนอยู่ในธรรมอันอะไร เรื่องความสุขในพระพุทธศาสนา
มีทั้งความสุขที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ความสุขที่เป็นรูปธรรมคือการมีสุขภาพดี
การมีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน การเป็นที่ยอมรับในสังคม การมีมิตรสหาย
และการมีชีวิตครอบครัวที่ดี ความสุขในนามธรรม
คือความสุขที่เกี่ยวกับคุณธรรมความดีงาม
ความสุขที่เกิดจากความมั่นใจในคุณค่าของชีวิต
ความมีศรัทธาในสิ่งดีงามที่เป็นหลักจิตใจ
การมีปัญญาที่ทำให้รู้จักปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง
และความสุขขั้นสูงสุดคือ โลกุตตร ซึ่งเป็นความสุขของพระอเสขะ คือ พระอรหันตขีณาสพ
ที่อยู่เหนือกระแสไหลเวียนของโลกธรรมคือความเป็นผู้มีจิตใจอิสระ
ด้วยความรู้เท่าทันต่อสิ่งทั้งหลาย รู้โลกและชีวิตตามความเป็นจริง ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรม
ทางพระพุทธศาสนาเริ่มตั้งต้น ในการทำความดี หรือ กรรมดีทั่วๆ ไป ที่เรียกว่าบุญ
ดังพระพุทธพจน์ว่า บุญเป็นชื่อของความสุข
พระพุทธศาสนา ถือว่า ความสุขเป็นเรื่องสำคัญ การที่อริยสาวก[3]ละกามนั้นไม่ใช่เพราะกามไม่มีความสุข
หรือเพราะพระพุทธศาสนาให้ละเว้นความสุข พระพุทธศาสนายอมรับความสุขตามที่เป็นจริง
สอนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุความสุข และยอมรับว่ากามมีความสุข
แต่อริยสาวกละกามเพราะเห็นว่ากามมีความสุขก็จริง แต่ยังปะปนด้วยทุกข์มาก
สุดท้ายก็อยู่ในหมวดเวทนา[4]และข้อสำคัญยังมีความสุขอย่างอื่นที่สุขกว่า
ลึกซึ้งประณีตกว่าสุขที่เกิดจากกาม
หรือความสุขที่เกิดจากการเสพเสวยรสอร่อยของโลกอย่าง สามัญชน นั่นคือ นิพพาน[5] คือ
สุขอันเกิดจากการหลุดพ้น[6]
พระพุทธศาสนายอมรับหลักการของสุขนิยมว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ปุถุชน
เพราะว่าแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์พยายามกระทำการต่างๆ นั้น
มาจากความอยากมีความสุข เกลียดความทุกข์นั่นเอง
ตามสภาวะเหตุเกิดจากทุกข์
พระอานนท์เป็นผู้แสดงกับสุภมานพ
โตเทยบุตร ผู้ที่ปรากฏในพระสูตรนี้ก็เคยได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
และสุภมานพได้ประกาศตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนาแล้ว
จึงเคารพนับถือพระอานนท์ในฐานเป็นพุทธอุปัฏฐาก ฉะนั้น เมื่อทราบว่าพระอานนท์มา
จึงนิมนต์ ไปสนทนาธรรม ปัญหาที่ถามนั้นแสดงให้เห็นว่ามีความเคารพนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก แม้พระองค์เสด็จดับขันธ์นิพพาน
แต่ก็ปฏิบัติตามธรรมที่สร้างสรรเสริญ และได้ทรงชักชวนให้คนส่วนมากตั้งมั่น
ก็ถือว่าได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน
ความสุขที่อิสระเช่น
ความสุขในสติ สมาธิ ปัญญา ที่มีคุณค่าและความดีในตน
ความสุขระดับนี้ไม่ต้องอิงอาศัยปัจจัยภายนอกจึงมีความแน่นอน ทำให้จิตใจตั้งมั่น
มีความเชื่อมั่นในตนมาก อานุภาพสูง
ความสุขระดับนี้เป็นความสุขชั้นดีเพราะทำให้ชีวิตเป็นอิสระมากขึ้น
จิตใจเป็นใหญ่
มากขึ้นสามารถสร้างความสุขได้ด้วยตนเอง คือ (๑)
ความสุขจากความเชื่อมั่นในตัวตน (๒) ความสุขจากความดี (๓) ความสุขจากเมตตา (๔)
ความสุขจากสมาธิจิตใจที่สงบ (๕) ความสุขจากปัญญาเห็นความเป็นจริงเข้าใจสิ่งต่างๆ
ด้วยความไม่สงสัย
การบรรลุธรรมนั้น
บรรพชิตและฆราวาสย่อมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วฆราวาสผู้มี
จิตหลุดพ้นกับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นต่างก็มีความหลุดพ้นเหมือนกัน ในครั้งพุทธกาลฆราวาสจำนวนมาก บรรลุธรรม เช่น พระเจ้าพิมพิสาร
อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นต้น
ซึ่งการจะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ในพุทธศาสนานั้น บุคคลจะต้องฝึกฝนอบรมจิต
ในการอบรมจิตนั้นต้องอยู่ในฐานระดับต่างๆ
ถ้าเป็นปุถุชนสามัญก็ปฏิบัติธรรมให้อยู่ในวิสัยที่สามารถจะปฏิบัติได้หากมีศรัทธาปฏิบัติธรรมให้สูงขึ้นได้
ผู้ทำวิจัยจึงได้เห็นความสำคัญในสุภสูตร เป็นเหมือนสูตรสำเร็จ ซึ่งมีองค์ประกอบครบแห่งการความเป็นพื้นฐานแห่งความสำเร็จในการเจริญวิปัสสนาภาวนาได้เป็นอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนาได้ให้อิสระในการเลือกวิธีการปฏิบัติ
จนกระทั่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์
ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด และผู้ที่จะบรรลุธรรมได้นั้นต้องโพธิปักขิยธรรม ๓๗
องค์แห่งการตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน
๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ประการ
เป็นพื้นฐานเกิดขึ้นอยู่ในจิตใจ โดยอาศัยการฝึกหัดกาย วาจา และใจให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น
ซึ่งหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสุขนี้ ผู้วิจัยจะได้ศึกษาค้นคว้า ในงานวิจัยต่อไป[7]
๒.
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๒.๑
เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในสุภสูตร
๒.๒
เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตร
๓. วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยนี้
มุ่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกายสีลขันธวรรค พระสูตรที่ ๑๐ เล่มที่ ๙ ข้อที่ ๔๔๔-๔๘๐ หน้าที่
๑๙๗-๒๑๒ และวรรณกรรม พระพุทธศาสนาจากอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้น
ผู้วิจัยจะดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนการวิจัยตามลำดับดังต่อไปนี้
๕.๑
ศึกษาเรื่องความสุขของฆราวาสในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพระไตรปิฎก
ปกรณ์วิเสสต่างๆ และวรรณกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๕.๒
ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทประกอบด้วยพระไตรปิฎก
และปกรณ์วิเสสต่างๆ และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
๕.๓
ศึกษาวิเคราะห์ทัศนะของพระพุทธศาสนาต่อความสุขของฆราวาสในคัมภีร์พระพุทธศาสนาสรุปผลที่ได้จากการวิจัย
พร้อมข้อเสนอแนะ และประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาต่อไป
การศึกษาค้นคว้าวิจัยเอกสารแบบพรรณาเรื่อง ศึกษาการเจริญวิปัสสนาในสุภสูตรครั้งนี้
เป็นการศึกษาเอกสารด้านคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ศึกษาเฉพาะเนื้อหาหลักธรรม และศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตรเท่านั้นที่ปรากฏในพระสูตรอื่นเป็นต้น
ฯ ผลการวิจัยในสุภสูตร อริยสีลขันธ์
อริยสมาธิขันธ์ และอริยปัญญาขันธ์[8]มีผลการปฏิบัติมีผลมหาศาล กว่าใครที่จะเข้าใจได้ นอกจากผู้ปฏิบัติจริง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหิติ หมายความว่า
ปัจจัตตัง ก็รู้เฉพาะตน อันวิญญชน หมายถึงผู้รู้
พึงรู้ได้เฉพาะตนอันนี้ข้อความจำกัดแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงรู้ คนอื่นรู้ไม่ได้
เหมือนเรารับประทานอาหาร เรารู้จริงๆ คนอื่นก็รู้ นึกๆ เอาว่า อ้อ
มันคงเป็นรสเปรี้ยว รสหวาน รสมัน รสเค็ม แต่ไม่รู้จริงๆเหมือนผู้รับประทานอาหารคงเป็นอย่างนี้
มีมรรค ผล ๑ เรียกว่า พระโสดาบัน เริ่มเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่เริ่มเป็นพระโสดาบัน
ผู้ที่เข้าสู่กระแสนิพาน และจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว
หรือเกิดอย่างน้อยก็จะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ตนก็ย่อมรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น มรรค
ผล ๒ เรียกว่าพรสกทาคามี มรรค ผล ๓ เรียกว่า
พระอานาคามี และเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ในศาสนาอื่นๆ ไม่มีคือ พระอรหันต์ เข้า พระนิพพานเรียกว่าพระอเสชะ ผู้ที่ยังไม่ต้องศึกษาในสิกขาบท อีกต่อไป
ทั้งหมดเรียกรวมว่าไตรสิกขาบทเริ่มตั้งแต่อริยสีลขันธ์ในองค์มรรค
เป็นผลของการปฏิบัติในวิริยะคือ ความเพียร องค์ประกอบมรรค ๘ ได้องค์มรรค ๓
องค์ประกอบเป็นฐานแรกเป็นฐานของสีลขันธ์
การมีปัญญามองเห็นแล้วละสิ่งที่ไม่ดีออกไปเรียกว่า ละชั่ว
ไม่ทำชั่ว
ละบาปทุจริตออกไปได้ นี้เป็นสีล
รักษาสีลเพื่อเป็นบาทฐานการเจริญสมาธิต่อไปในองค์มรรคในสีลได้องค์มรรค ๓
คือ ๑. สัมมาวาจาการพูดจาชอบ ไม่พูดเท็จไม่พูดเสียดสีไม่พูดคำหยาบ
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๒. สัมมากัมมันโต
การทำการงานชอบ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ประพฤติในกาม ๓. สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ เข้าสู่ธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงออกแบบแผนให้การปฏิบัติโดยเป็นขั้นตอนเรียบง่ายไปหายยาก ในวิริยะ คือ ความเพียร
เป็นการสืบเนื่องต่อสติสัมปชัญญะ[9] กันไป ถ้าสีลไม่สมบูรณ์ อริยมรรค
องค์อื่นๆ จะไม่เกิดขึ้นเลย
ถ้าไม่มีความบริบูรณ์สีลเป็นบาทฐานเป็นแบบแผน
ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตร ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากการสำรวม อริยสมาธิขันธ์ คือ การเจริญสมาธิภาวนาในจิตใจของคน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาละความมุ่งร้ายคือพยาบาท
มีจิตไม่พยาบาทมุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาทละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจาก
ถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ)
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร[10] อริยสติ
สัมปชัญญะ และอริยสันโดษ อย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ
เสนาสนะเงียบสงัด คือ
ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
ในโลกมีใจปราศจากอภิชฌาอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
ละความมุ่งร้าย คือ พยาบาท
มีจิตไม่พยาบาทมุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความมุ่งร้าย คือ พยาบาทละถีนมิทธะ
(ความหดหู่และเซื่องซึม)
ปราศจากถีนมิทธะ
กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ
(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉา
คือ ความสงสัยได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา อุปมานิวรณ์ ๕
เปรียบเหมือนคนกู้หนี้มาลงทุนจนประสบผลสำเร็จ
ใช้หนี้เก่าที่เป็นต้นทุนจนหมดเก็บกำไรที่เหลือไว้เป็นค่าเลี้ยงดูบุตรภรรยา
เขาคิดว่า
‘เมื่อก่อนมีเหลือไว้เป็นค่าเลี้ยงดูบุตรภรรยา’ เพราะความไม่มีหนี้สินเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความเบิกบานใจและความสุขใจ เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์สมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก
มีภัยเฉพาะหน้า ต่อมา ข้ามพ้นทางกันดารถึงหมู่บ้านอันสงบร่มเย็นปลอดภัยโดยสวัสดิภาพ เขาคิดว่า
เมื่อก่อนเรามีทรัพย์สมบัติ
เดินทางไกลกันดารหาอาหารได้ยาก
มีภัยเฉพาะหน้าเวลานี้ข้ามพ้นทางกันดารถึงหมู่บ้านอันสงบร่มเย็นปลอดภัยโดยสวัสดิภาพเพราะการพบภูมิสถานอันร่มเย็นเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความเบิกบานใจและความสุขใจ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕
ที่ตนยังละไม่ได้เหมือนหนี้
พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้
เหมือนความไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค
การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น
เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕
ที่ตนละได้แล้วย่อมเกิดความเบิกบานใจ
เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปิติ
เมื่อใจมีปิติกายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข
เมื่อมีความสุข
จิตย่อมตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่นก็เจริญภาวนาในฐานปัญญาขันธ์ได้ต่อไป
ก็จะก้าวสู้ฐานปัญญาขันธ์ คือ อะไร
อริยปัญญาขันธ์
อันเป็นอริยนี้พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญ
ให้สมาทาน
ให้ตั้งอยู่ให้ดำอยู่และ
ในพระธรรมวินัยนี้
มิได้กิจอื่นที่ยิ่งขึ้นไปอีกกว่านี้
ในการเจริญปัญญา
ตามฐานตอนตั้งแต่เริ่มด้วย
สีล สมาธิและปัญญาในสุภสูตร ก็จะเห็นได้ว่า ผ่านกระบวนการเป็นขั้นตอนเป็นแบบแผนที่พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนเอาไว้ให้ปฏิบัติตาม
เป็นฐานการปฏิบัติการเจริญวิปัสสนาภาวนา[11]
เมื่อได้ปฏิบัติตามจนถึงท้ายที่สุดก็บรรลุธรรมตั้งแต่ฌานเป็น
โลกียะ จึงสามารถกำหนดถอยออกจากฌาน คือการกำหนดในอาการเกิด-ดับ
ก็เข้าญานปัญญา แต่ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเหมือนที่เขียนมานี้ หรือการเจริญวิปัสสนาญาณ ในฐานโลกุตตระได้แต่ในทางปฏิบัติได้สองทาง คือ
๑.โดยการเจริญฌานสำเร็จมาก่อนอย่างน้อย ฌานที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน แล้วการเจริญวิปัสสนาภาวนา ในสมาธิ
ผ่านฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
แล้วก็ถอยจากฌาน
มากำหนดอาการเกิด-ดับ แล้วก็บรรลุมรรค ผล
๒.โดยการเจริญวิปัสสนาภาวนาใช้ชนิกสมาธิ
เป็นการกำหนดสติแบบต่อเนื่องเรียกว่า
อินทรีย์ ๕ เป็นต้น โดยไม่ต้องใช้ฌานสมาบัติ ในการปฏิบัติการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญสมาถภาวนามาก่อน (เป็นทางที่อ้อมแต่มีฤทธิ์) แต่การเจริญสมาธิภาวนา หรือเรียกอีกอย่างว่าสมาถภาวนาต้องสำเร็จได้ฌานสมาบัติถึงขั้นปฐมฌานก่อน ถึงจะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ โดยดูอาการเกิด-ดับ
ในสุภสูตรมีครบองค์ประกอบ เป็นแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ
และพระมหากรุณาธิคุณได้สร้างกฎระเบียบแบบแผนองค์ประกอบในการปฏิบัติ ถ้าดำเนินการไปตามการวางระเบียบขึ้นไว้ การปฏิบัติเพื่อทางหลุดพ้นที่แท้จริงได้ ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรจน์
มรรค ย่อมเห็นผลมาก มีปกติทำสมาธิให้พอประมาณ มีปกติให้ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้างเพราะในการต้องอาบัติและการออกจาก
เราแต่สิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
พระโสดาบัน ๑ โสดาบัน ๑
ท่องเที่ยวไปในหมู่เทวดาและมนุษย์อย่างมากที่สุดก็เพียงแค่ ๗ ครั้ง แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์เบื้องต้น ปัญญาขันธ์
อริยปัญญาขันธ์เมื่อพระอานนท์แสดงธรรมเสร็จ ได้แก่
อริยสีลขันธ์ อริยสมาธิขันธ์ และอริยปัญญาขันธ์
ในพระสูตรไม่แสดงไว้ว่าสุภมานพโตเทยยบุตรนั้นได้บรรลุธรรมชั้นใดหรือขั้นใด แต่ได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
๔. สรุปผลการวิจัย
ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเอกสารแบบพรรณาเรื่อง ศึกษาการเจริญวิปัสสนาในสุภสูตร
ครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารด้านคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ศึกษาเฉพาะเนื้อหาหลักธรรม และศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในสุภสูตรเท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติแบบสมถนำหน้าวิปัสสนา ดังนั้น
ผู้ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการศึกษาค้นคว้า ควรจะศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆ ด้วยให้ครอบคุม เช่น ในการปฏิบัติวิปัสสนานำหน้าสมถ หรือการปฏิบัติวิปัสสนาและสมถควบคู่กัน การปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ หรือการปฏิบัติตามหลักธรรม
วิเคราะห์ทัศนะของพระพุทธศาสนา
มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบันอย่างไรบ้าง สุภสูตร
ไตรสิกขาบท สิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นจึงเป็นโสดาบัน ๑ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมาก
๗ ครั้ง ผู้วิจัยจะได้นำเสนอวิเคราะห์และ
ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาภาวนา ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญหิติ หมายความว่า
ปัจจัตตัง ก็รู้เฉพาะตน อันวิญญูชน
หมายถึงผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน
มีมรรค ผล ๑ เรียกว่า พระโสดาบัน เริ่มเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน
ผู้ที่เข้าสู่กระแสนิพาน
และจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว
หรือเกิดอย่างน้อยก็จะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
และเป้าหมายสูงสุดพระพุทธศาสนา คือ พระอรหันต์ เข้าพระนิพพาน ไม่เฉพาะในสุภสูตร เรียกว่าทุกๆ
พระสูตร สามารถยังทำกุศล
ให้เกิดประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลได้ได้มากเลยที่เดียว ไม่มีศาสนาอื่นใดเหมือนศาสนาพุทธอีกแล้วที่สุดยอดขนาดนี้ ตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า
พระธรรมมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ
โลกุตตระ ๙ มี มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑
๕. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการทำสารนิพนธ์ครั้งต่อไป หากมีการศึกษาในเรื่องเดียวกันนี้ครั้งต่อไป
ผู้ศึกษาควรจะศึกษาในรายละเอียดของหลักธรรมที่ปรากฏในสุภสูตรในประเด็นดังต่อไปนี้
๕.๑
การศึกษาวิเคราะห์องค์ธรรมในนิวรณ์ ๕
มีผลต่อการบรรลุธรรม
๕.๒การศึกษาวิเคราะห์ปัญญาวิมุตติกับเจโตวิมุตติในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
๕.๓
การวิเคราะห์การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักไตรสิขาบท
๕.๔
การวิเคราะห์องค์ฌาณในการบรรลุธรรม
๕.๕
การศึกษาปัญญาวิมุตติในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
บรรณานุกรม
๑.
ภาษาไทย:
ก.
ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสูตรที่ ๑๐ เล่มที่ ๙ ข้อที่
๔๔๔-๔๘๐ หน้า ๑๙๗-๒๑๒ กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๓๙.
ข.
ข้อมูลทุติยภูมิ
(๑)
หนังสือวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๙ นครปฐม: โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ ป.ธ.๙). อริยวังสปฏิปทา. กรุงเทพมหานคร:
หจก.ประยูรสาส์นไทย
การพิมพ์),๒๕๕๔.
พระคันธสาราภิวงศ์.
โพธิปักขิยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๕.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ
(ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ.๘) .วิปัสสนาภาวนา.กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย
การพิมพ์,
๒๕๕๘.
พระมหาทองมั่น
สุทธจิตฺโต. คู่มือการเจริญสติปัฏฐาน ๔. พิมพ์ครั้งที่
๑๓. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
บุญศิริการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๖.
พระพุทธทาส
อินทปญฺโญหน้า. ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี. พิมพ์ครั้งที่
๘ กรุงเทพมหานคร: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
พุทธทาส. ตามรอยพระอรหันต์.
สุราษฎร์ธานี: ธรรมทาน.
สุภีร์ ทุมทอง. อริยมรรค.
พิมพ์ครั้งที่ ๒. นครปฐม: สาละ.
[1]
นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
[2] อาจารย์มหาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
[3] สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ ป.ธ.๙), อริยวังสปฏิปทา, กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์), ๒๕๕๔, หน้า ๑-๘.
[4] พระคันธสาราภิวงศ์,
โพธิปักขิยธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท
บุญศิริการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๕), หน้า ๓๒.
[5] พระพุทธทาส
อินทปญฺโญหน้า, ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี, พิมพ์ครั้งที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร:
บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น
จำกัด), หน้า.๑๖๙.
[6] พระภาวนาพิศาลเมธี
วิ (ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ.๘),วิปัสสนาภาวนา, (กรุงเทพมหานคร: หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์), ๒๕๕๘, หน้า
๓๒๖.
[7] พระคันธสาราภิวงศ์, โพธิปักขียธรรม, หน้า ๑๑-๑๗๖.
[8] ที.สี. (ไทย). ๙/๔๔๔/๑๙๗.
[9] พระมหาทองมั่น สุทธจิตฺโต, คู่มือการเจริญสติปัฏฐาน ๔, พิมพ์ครั้งที่
๑๓, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด,๒๕๕๖),
หน้า ๓๙.
[10] พุทธทาส, ตามรอยพระอรหันต์, (สุราษฎร์ธานี: ธรรมทาน),
หน้า ๒๑๙.
[11] สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน, พิมพ์ครั้งที่ ๙ (นครปฐม: โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย), หน้า ๗๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น