08-พระราหุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระราหุล เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือพิมพา
เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ ประสูติวันเดียวกันกับที่พระ
บิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระ
บิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัส
ดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราที่พระประยูรญาติสร้างถวาย ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้าทรงปฏิบัติพุทธกิจ
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาใน
ระหว่างถนน ให้พระบิดาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล
ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดา
และพระนางมหาปชาบดีโคตรมี เมื่อจบพระธรรมเทศนาพระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี
ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธ
องค์จะเสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ถึง ๖ วันแล้วก็ตาม แต่พระนางพิมพา
พระมารดาของราหุลกุมาร ก็มิได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ ดุจบุคคลอื่น ๆ เลย
- ราหุลกุมารทูลขอทรัพย์สมบัติ
ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี
ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตรแล้วตรัสว่า:-
“พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส รูปงามดุจท่านท้าว
มหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า
พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกบวช เจ้าก็เหมือนหมด
หวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบไหว้พระบิดาแล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้นในฐานะเป็น
ทายาทสืบสันติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”
ราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา
กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์
โสมนัสตรัสชมว่า “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุด
ประมาณ” ดังนี้แล้วก็ตรัสเรื่องอื่น ๆ ต่อไปโดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ
พระพุทธองค์ ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่นิโครธาราม
ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบ
โอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันติวงศ์สันติวงศ์จะพึงได้รับ- พระราชทานอริยทรัพย์
พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติ
อันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่
ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์
อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะจำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุล
ในพุทธวงศ์นี้สืบไป"
ครั้นแล้วทรงมีพระดำรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จัดการบรรพชาให้แก่ราหุล
กุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์ และสามเณรราหุล ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรองค์แรกใน
พระพุทธศาสนา- พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร
พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเสียพระทัยเป็น
อย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้วก็หวังจะได้นันทกุมารสืบ
ราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสนาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมี
หวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรง
นำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้สืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก
จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากปล่อยไว้อย่างงี้อีกไม่นาน บรรดา
กุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกข์โทมนัสอย่างนี้ก็จะเกิดแก่บิดา
มารดาในสกุลอื่น ๆ ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่
นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพระพุทธอนุญาตว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธ
ศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้วขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้
บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย”
พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอแล้วถวายพระพรลา พา
พระนันทะ และสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์
เมื่อราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร
เถระอุปัชฌาย์ของตน ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไป
ที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร ให้ท่านฟังหลังจากนั้นทรงสอนในทาง
วิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายใน และภายนอกขึ้นแสดงพระราหุล ส่งจิตไปตามกระแสพระ
ธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล- ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลา
เช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่ง
สอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้
ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็น
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา- เป็นต้นบัญญัติ ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจนเป็นที่เลื่องลือ
ในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระ
ผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของ
ตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำ
มือจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้
เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค
พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บัง
เดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
ครั้นในคืนต่อมา สามเณรไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน
ท่านจึงเข้าไปนอนในเว็จกุฏี (ส้วม) ของพระบรมศาสดาเมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไป
พบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่าเพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติทำให้
พระองค์สลดพระทัยจึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อย ๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาด
ผู้ดูแลเอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า:-
“ให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”
ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้น
เสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้ โดยเริ่มนับหนึ่งจนถึงคืนที่ ๓ ทำโดยทำนองนี้จน
กว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร
ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อน
พระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์
84000.org...::
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น