05-พระปุณณมันตานีบุตรเถระเอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
พระปุณณมันตานี เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ อันไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก เดิมท่านมีชื่อว่า “ปุณณะ” แต่เนื่องจากมารดาของท่านชื่อนางมันตานี คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า “ปุณณมันตานีบุตร” และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะพระปุณณมันตานี ได้เข้ามาบวชในพุทธศาสนา โดยการชักนำของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้เป็นลุง ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์หลังจากทรงจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พอออกพรรษาแล้วทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนานับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก พระอัญญาโกณฑัญญะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ท่านได้กลับไปที่บ้านของท่านแสดงธรรมโปรดญาติพี่น้อง ขณะนั้น ปุณณมันตานี บุตรหลานชายของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอบวชในพุทธศาสนา ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อน แล้วพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ เมื่อบวชแล้วไม่นานอุตสาห์บำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้นเมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ:-๑ อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย๒ สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ๓ ปวิเวกตา เรื่องความสงัด๔ อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ๕ วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร๖ สีลตา เรื่องศีล๗ สมาธิ เรื่องสมาธิ๘ ปัญญา เรื่องปัญญา๙ วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น๑๐ วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้นคุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อยสันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาวิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วยคุณธรรม ๑๐ ประการนี้ จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน
สนทนาธรรมกับพระสารีบุตรสมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้นพระสารีบุตรกับพระปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับวิสุทธิ๗ ประการ อันได้แก่:-๑ ลีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล๒ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย๕ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง๖ ปฏิปาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะกล่าวคือมรรคญาณพระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ ๗ นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกันไปจนถึงพระนิพพาน ท่านเปรียบเหมือน ๗ คัน ที่ส่งต่อ ๆ พลัดกันไปโดยลำดับเมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถาของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตนเพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วยพระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึกพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
84000.org...::
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น